วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โรคปลากัดและวิธีรักษา ภาค 2

โรคปลากัดและวิธีรักษา...@โรคปลา@...สำหรับโรคที่มักพบในปลาเลี้ยงทั่วๆ ไปก็ได้แก่
โรคจุดขาว
- จะเห็นเป็นจุดขาวๆบริเวณตัวปลาและติดต่อกันได้ด้วย
การรักษา
1.ใช้เมททีลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน 5 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
2.ใช้ยาแอนตีไบโอติค 50 มิลิกรัม / น้ำ 4.5 ลิตร
3.ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลายยา 1-2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร นำปลามาแช่ 3 วันจึงเปลี่ยนน้ำ

โรคสนิม
- โรคนี้จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่ เกาะตามผิวหนัง ลำตัวและเหงือกของปลา จนทั่วตัวต่างกับโรคจุดขาวคือ มีสีเหลืองเล็กและเข้มกว่า
การรักษา
1.ใช้เกลือแกงเข้มข้น 1% แช่ปลาไว้นาน 24 ช.ม. ควรทำซ้ำทุก 2 วัน
2.ใช้เมททีลีน บูล อัตตรา 10 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ประมาณ 2 สัปดาห์
3.ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) 4 มิลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร และทำซ้ำจากครั้งแรก 1 สัปดาห์
4.ยา Antibiotic ใช้เหมือนกับโรคจุดขาว

โรคเชื้อรา
- โรคนี้เกิดต่อเมื่อปลาได้รับบาดเจ็บหรืออ่อนแอ ปลาจะมีลักษณะผิวเป็นปุยสีขาว คล้ายสำลีตามลำตัว หรืออาจมีเส้นราเกิดขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที ราจะกระจายและทำอันตรายเนื้อเยื่อของปลาและอาจถึงตายได้
การรักษา
1.ใช้ "มาลาไคท์ กรีน" เข้มข้น 60 ppm. หรือ 1:15,000 และนำปลาแช่ 30 นาที ถ้าไม่หายก็ทำซ้ำอีก
2.ใช้เกลือแกง ค่อยๆใส่ลงในน้ำ ปลาจะทนความเข้มข้นได้ 0.5 % โดยเติมสารละลายเกลือ 1 ช้อนชา / น้ำ 4.5 ลิตร ทุก 2-3 ช.ม. จนครบ 5 ช้อนพอดี จึงหยุดเพิ่มความเข้มข้นของเกลือแกง ในน้ำนี้ ใช้เวลา 1-2 วัน

โรคราที่ปาก
- โรคนี้เกิดจากแบคทีเรียบริเวณปากและกระจายไปอย่างรวดเร็วลักษณะเป็นเส้นสีขาวและดำรอบริมฝีปาก ทำให้ปลาไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากปลาเจ็บปาก และเป็นไข้
การรักษา
1.ใช้ยาเพนนิซิลิน 100,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ยา Antibiotic ทีใช้กับโรคจุดขาวก็ใช้ได้3.ใช้ยาเพนนิซิลิน ยานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อปลาและสะดวกต่อการใช้ ถ้ายังไม่หายให้เพิ่มอัตตราการใช้เป็น 200,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร ปลาจะหายภายในไม่กี่วัน

โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย
- โรคนี้จะแสดงอาการได้ชัด คือเห็นว่าครีบและหางขาดและอาจลามถึงโคน ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณโคนหาง
การรักษา
1.โดยให้ปลาได้รับ acration ร่วมกับการใช้ยาเพนนิซิลิน 15,000 หน่วย / น้ำ 1 แกลลอน

โรคท้องมาร
- โรคนี้เนื่องมาจากเชื้อไวรัส ปลาที่เป็นโรคท้องมารเกล็ดจะชี้ตั้งขึ้นส่วนท้องจะบวมเนื่องจากมีของเหลวภายในช่องท้อง
การรักษา
1.ใช้ Chloromycetin ใส่ในน้ำ 50-100 mg. / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ Para-chlorophenoxethol เข้มข้น 1.20 มิลลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร ค่อยๆใส่จนถึง 24 ช.ม.
3.โดยการเจาะลำตัวปลาบริเวณเหนือช่วงเปิด แต่การรัษาโดยวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ อย่าให้ถูกอวัยวะ ภายในเป็นอันขาด

โรคตาโปน
- เกิดจากแบคทีเรีย หรือหลังจากการได้รับบาดแผลเป็นรอยถลอกบริเวณใกล้ๆ นัยน์ตา ตาจะปูดปวมขึ้นมาและโปนกว่า ปกติมาก
การรักษา
1.โดยการจับปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่มีใบหูกวาง 2-3 วัน อาการตาปูดก็จะหายไปอนื่งยางของใบหูกวางที่ละลายอยู่ในน้ำจะช่วยรักษาแผลต่างๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

โรคเชื้อแบคทีเรีย
- โรคนี้มีอาการปรากฏคือ มีอาการท้องบวมและมีของเหลวในช่องท้องมาก แต่ไม่มีอาการเกล็ดตั้งขึ้น
การรักษา
1.แช่ไว้ในยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเทตราไซคลินหรือคลอแรมฟินิคัล ที่มีความเข้มข้น 10-20 ส่วนในล้านส่วนและต้องเปลี่ยน น้ำยาแช่ใหม่ทุกวันและเติมยาให้มีความเข้มข้นเท่าเดิมทุกครั้ง โดยแช่ติดต่อกัน 3-5 วัน

โรคกระเพาะลม
- โรคนี้จะทำให้ปลาเสียการทรงตัว ปลาที่มีการทรงตัวไม่ดีอาจจะท้องหงายขึ้นลอยตามผิวน้ำ หรือจมอยู่ที่พื้นราบการรักษาสำหรับโรคนี้ไม่สามารถทำการรักษาได้ ตายสถานเดียวครับ...!

โรคสีลำตัวซีด
- โรคนี้เกิดจากมีสัตว์เซลล์เดียวมาเกาะ ทำให้ปลามีการขับเมือกออกจากตัวมากผิดปรกติ ปลาจะมีสีซีด
การรักษา
1.เช่นเดียวกับการรักษาโรคจุดขาว

โรคปรสิต (พยาธิใบไม้และหนอนสมอ)
- มักพบตามตัว เหงือก ครีบ มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ ส่วนหนอนสมอ จะเห็นเป็นเส้นด้ายสั้นเกาะอยู่ตามผิวตัว ทำให้ปลาแคระแกรนและอาจตายในที่สุด
การรักษา
1.ใช้ด่างทับทิมละลายในน้ำให้มีความเข้มข้น 2 ppm. / น้ำ 1 ลิตร
2.ใช้กรดน้ำส้มเข้มข้น 1 : 500 แช่ปลานาน 20 วืนาที และจะทำซ้ำหลังจากนั้น 3 วันก็ได้
3.ใช้ฟอร์มาลิน 20 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร แช่ปลานาน 5-10 นาที

โรคปลาตัวสั่น
- โรคนี้มีสาเหตุไม่แน่นอนเนื่องจากน้ำที่เลี้ยงสกปรกเกินไปหรือเกิดจากในน้ำมีสารพิษ เช่น คลอรีนมากเกินไปก็ได้ ดังนั้นปลาจึงมีอาการตัวสั่น
การรักษา
1.ต้องรีบเปลี่ยนน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเจริญเติบ(ผิดพลาดยังไงบอกด้วยนะคับ)


ข้อมูลที่ได้กล่าวไปนั้นได้ทำการคัดลอกมาจาก http://www.bettanetwork.com/new/archiver/?tid-199.html

เทคนิคการฝึกหัดปลากัดเพื่อการแข่งขันหรือปลาเก่ง



สำหรับปลากัดที่ดีและพร้อมลงสนามจะต้องได้รับการฝึกให้กัดเก่ง ด้วยการฝึกตั้งแต่ในบ่อเลี้ยงแล้วทำการคัดเลือกปลาที่กัดเก่ง ออกมแล้วนำไปกัดกัดปลากัดในครอกอื่นๆ จนกระทั่งได้ปลาที่กัด เก่งตามความต้องการ เดิมทีนั้นก่อนที่จะนำปลากัดออกกัดใน
สนามแข่งต่างๆคนเก่าแก่มักจะมีคาถาสำหรับเป่าเสกกำกับการกัด ปลาในแต่ละครั้งซึ่งคาถาสำหรับการกัดปลาในแต่ละครั้งก็คือ นะกัดตัง กะขะชนะ ตังข้ามีกำลังดังพระยาปลาใน หาสมุทรสุกุโย เกล็ดแก้วมณีหุ้มห่อตัวข้าดังเกาะเพชรพุตากะเก เขี้ยวแก้วทั้งสี่ดุจตรีเพชรหนุมาน มะอะอุ ปลาใดมารอนราน วินาศ สันติ
สำหรับปลาที่จะเลี้ยงเพื่อการแข่งขันหรือการกัดนั้นพออายุครบ 6-8 เดือน ให้อาปลาขึ้นมาจากอ่างมาใส่ขวด เพื่อดูว่าปลาตัวไหนสมบูรณ์และลักษณะดีก็ให้คัดไว้ลงอ่างหมักที่ใช้ใบตองแห้งของกล้วยน้ำว้าหรือใบหูกวางแช่อ่างหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จึงนำเอาปลาขึ้นมา หากเป็นปลาที่ อ้วนเกินไปในระหว่างหมักก็ควรให้อดอาหารบ้าง โดยให้อาหารวันเว้นวัน เมื่อครบกำหนตามที่หมักไว้จะได้ปลาที่มีรูปร่างสวยเกล็ดแน่น ผิวเป็นมันเรียบ ต่อจากนั้นให้นำปลามาใส่ในขวดและเริ่มฝึกได้
ในการฝึกปลาจะมีชื่อเรียกว่า”ลูกไล่” ให้หาขวดหลน้ำกลั่นมาตัดปากออก เพื่อความสะดวกเวลาตักปลาแล้วให้เอาปลาตัวเมียเล็กๆขนาดอายุได้ 3-4 เดือนระมาณ 5-6 ตัว ใส่ลงในโหลพอเช้าประมาณ 6-7 โมง ก็เป็นปลาที่เลี้ยงให้พองใส่กันประมาณ 1 นาที เมื่อเห็นว่าดุดีแล้วก็ตักใส่โหลลูกใหม่ปลาก็จะไล่กัดลูกไล่ไปรอบๆ ให้มันไล่อยู่ประมาณ 30 นาที ก็ให้ตักปลาตัวผู้ขึ้น การทำเช่นนี้จะทำให้ปลาว่ายน้ำแข็งแรงไม่ตก
นอกจากการฝึกลูกไล่แล้วก็ต้องฝึก”พานตัวเมีย” โดยเอาปลากัดตัวเมียที่มีขนาดใหญ่หน่อยนึงลงหมักประมาณ 4-5 วันเพื่อให้ปลาดุแล้วนำมาใส่โหลจากนั้นให้เอาปลากัดตัวผู้ที่เลี้ยงใส่ลงไปทั้งปลาตัวผู้และปลาตัวเมียจะพองเข้าหากัน คล้ายจะกัดกันมีการวิ่งล่อไปมา การพานตัวเมียนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-5นาทีก็พอ และเวลาพานตัวเมียนั้นต้องคอยดูตลอดเวลา อย่าให้ปลาตัวผู้กัดปลาตัวเมียได้ เพราะไม่เช่นนั้นปลาตัวเมียจะกลัว ไม่พองเข้าหาตัวผู้หรือลูกไล่ล่อกับปลาตัวผู้การพานก็จะไม่มีประโยชน์ การพานนี้ควรทำในช่างบ่าย พอพานเสร็จแล้วก็ให้ตักเอาออกมาใส่ขวดโหลพักไว้สักครู่นึ่งจึงให้อาหารพอถึง6 โมงเย็นก็เอาลงอ่างนอนซึ่งเป็นอ่างที่มีลักษณะเดียวกันกับอ่างรัดตั้งไว้ในที่สงบ ไม่ให้สะเทือนทำเช่นนี้ติดต่อกันประมาณ 10-12 วัน ปลาที่เลี้ยงไว้ก็จะสมบูรณ์กัดไม่แพ้คู่ต่อสู้ ซึ่งเซียนปลากัดมักกล่าวกันว่า”น้ำเลี้ยงดี” เช่นเดียวกับไก่ชน ปลากัดพวกนี้แม้ว่าจะมีความดุจริง แต่ถ้าถูกช้อนใส่ขวดใหม่หรือถูกแสงสว่างอย่างกะทันหันมันจะตื่นตกใจได้ง่ายๆ เหมือนกันดังนั้นก็ต้องมีการฝึกโดยหมั่นเปลี่ยนขวดบ่อยๆไม่ให้ซ้ำลักษณะแบบเดียวกันเป็นการฝึกให้ปลาเคยชินกับสถานที่ใหม่ๆ ไม่จำเจ เมื่อถึงวลานำไปกัดจริง มันก็จะไม่เกิดอาการตื่นเวที การฝึกแบบนี้เรียกว่า”ปลอบ” เทคนิคการนำปลากัดเข้าแข่งขัน ว่ากันว่าเวลากัดที่เหมาะแก่การนำเข้าแข่งขันหรือเพื่อการกัดนั้นจะต้องเป็นปลาที่มีอายประมาณ1 ปีเต็มเพราะปลากัดอายุ1เต็มจะเป็นปลาที่สมบูรณ์แข็งแรง และแกร่งพอที่จะเป็นปลานักสู้ได้อย่างเต็มความามารถ แต่ความเป็นปลากัดเก่งใช่ว่าจะอยู่ที่อายุหรือขนาดของปลาก็หาไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับการฝึกหัดปลาด้วย รมถึงการหมักปลากัดให้ไความแกร่ง เกล็ดหนาและปากคมแข็งแรง ซึ่งหลักการเหล่านี้บรรดาเซียนปลากัดแต่ละคนจะมีเทคนิคการทำให้ปลาเก่งแตกต่างกันดังจะเห็นได้จาก ป้ายหน้าร้านตามตลาดซันเดย์ว่าเป็นปลากัดเก่งจากฉะเชิงเทราบ้าง ราชบุรีบ้าง เพชรบุรีบ้าง นครปฐมบ้างหรือไม่ก็เป็นปลากัดเก่งจากภาคใต้
ส่วนการเทียบคู่ปลาเพื่อการกัดกันนั้น จะอาศัยการวางขวดที่มีปลาพร้อมจะลงสู่สนามกัดอยู่ในขวด โดยการวางขวดใกล้ๆกัดเพื่อจะได้สังเกตดูขนาดของตัวปลาว่ามีความเหมาะสมที่จะกัดกันหรือไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างก็ดูว่าปลาของตนมีขนาดใกล้เคียงกันหรือไม่บางครั้งก็อาศัยความพอใจและการตกลงกันของทั้งสองฝ่ายด้วย โดยไม่จำเป็นว่าปลาจะมีขนาดเท่าหรือใกล้เคียงกันเพียงอย่างเดียวหลังจากที่ต่างฝ่ายต่างเทียบปลากันแล้วตกลงที่จะปล่อยปลากัด พวกเขาทั้งสองฝ่ายก็จะเทน้ำออกจากขวดโหลที่ตนใส่ปลามาลงนาชนะที่เตรียมไว้เหลือน้ำในขวดโหลพียงเล็กน้อย จากนั้นจึงเทปลารวมกันเพื่อการแข่งขันกันต่อไป
อนึ่งในการที่บรรดาเซียนปลากัดทั้งหลายจะทำการคัดเลือกปลาของตนเองมาเพื่อการแข่งขันกันนี้ก็ต้องอาศัยมือน้ำเลี้ยงดังกล่าวโดยการคัดเลือกปลาที่มีลักษณะเด่นในการกัดเป็นปลากัดแม่น กัดรุนแรง กัดเฉพาะที่สำคัญเช่นบริเวณหูบริเวณกระเพาะ และบริเวณหางหรือตามครีบต่างๆของลำตัวปลา ว่ากันว่าปลากัดเก่งในแต่ละครอกจะมีความเก่งเหมือนกันแทบทุกตัว คือหากเป็นประหลาดีก็จะดีทั้งครอก ตรงกันข้ามหากเสียก็จะเสียทั้งครอกเช่นกัน “ถ้าขี้แพ้ก็แพ้เหมือนกันทั้งครอกชนะก็ชนะเหมือนกันทั้งครอก”
ข้อสำคัญเมื่อปลากัดที่กัดแข่งขันกันชนะแล้วจะไม่สามารถนำปลานั้นมากัดได้อีกเป็นครั้งที่สองเนื่องจากว่าปลาจะบอบช้ำเกินไป ควรนำไปเลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์เท่านั้นและควรดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีในการพักฟื้นปลา เมื่อปลาพักฟื้นดีแล้วจึงนำไปผสมพันธุ์ต่อไป ฉะนั้นเมื่อปลากัดผ่านการฝึกฝนที่ดีแล้วย่อมได้เปรียบใน การกัดกันเพื่อการแข่งขันทุกครั้งแต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของปลาในแต่ละแหล่งด้วยว่ามีความทนทานหนังเหนียวหรือกัดเก่งดีหรือไม่ อย่างเช่นปลากัดที่ขึ้นชื่อคือปลากัดแดริ้ว ปลากัดเพชรบุรี และปลากัดมาเลเซียเป็นต้น.

วิธีการแปลงเพศปลากัด


"ปลากัด" ปัจจุบันได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เนื่องจากเพศผู้นั้นจะมีสีสันสดใสสวยงาม รวมทั้งยังมีครีบหูยาวและใหญ่กว่าเพศเมีย จากลักษณะนี้จึงมีการใช้ต่อสู้กันเพื่อเป็นเกมกีฬาและการพนัน จึงทำให้เพศผู้เป็นที่นิยมในการเลี้ยงมากกว่า
แต่จากการศึกษาพบว่าอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียที่ได้จากการเพาะพันธุ์เป็น 1 ต่อ 1 ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลาชนิดนี้เพื่อการจำหน่าย จึงต้องศึกษาเทคนิคในการเพาะพันธุ์ที่เหมาะสมและลดต้นทุน เพื่อให้ได้เพศที่ตรงกับความต้องการของตลาด
การใช้ฮอร์โมนในการแปลงเพศปลาหรือในการผลิตปลาเพศใดเพศหนึ่ง กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก แต่วิธีการนี้ก็ยังมีข้อจำกัดการอยู่มากทั้งในด้านราคาและวิธีใช้เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นความรู้ทางด้านการใช้ฮอร์โมนน้อยอยู่ ดังนั้น อาจได้ "ปลากัด" ที่ไม่ตรงกับความต้องการ ต้องสั่งซื้อฮอร์โมนมาจากต่างประเทศ ทำให้เกิดการเสียดุลการค้า
คณะวิทยาศาสตร์การประมง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตรัง โดย "อุไรวรรณ วัฒนกุล"จึงทำ "โครงการศึกษาสารสกัดจากใบมังคุดต่อการเปลี่ยนลักษณะเพศในปลากัด" ขึ้น และได้ผลออกมาน่าสนใจยิ่ง
การวิจัยในครั้งนี้ได้มีการนำ "ใบมังคุด" ทั้งสดและแห้ง มาทำการทดลองในแต่ละความเข้มข้นว่ามีผลต่อการเปลี่ยนลักษณะเพศหรือสัดส่วนเพศมากน้อยแค่ไหน โดยนำมาสกัดเป็นน้ำชาเพื่อเลี้ยง "ปลากัด" ตั้งแต่แรกเกิดจนสามารถแยกเพศได้ เพื่อเป็นแนวทางในการนำฮอร์โมนจากธรรมชาติมาใช้ทดแทน หากได้ผลก็จะเป็นประโยชน์ในการนำมาเปลี่ยนเพศปลาหรือทำหมันปลาเพื่อลดกิจกรรมการสืบพันธุ์และส่งผลต่อการเพิ่มอัตราเจริญเติบโต ตลอดจนสามารถนำไปใช้ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามได้
สำหรับวิธีการศึกษานั้นแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ การเตรียมสารสกัดจาก "ใบมังคุดแห้ง" ด้วยการ
ทดลองเลี้ยงปลาพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์เพศและพร้อมที่จะผสมพันธุ์ ในอัตราส่วนน้ำเปล่าต่อน้ำสกัดจาก"ใบมังคุด" เท่ากับ 1 ต่อ 1 จนเมื่อลูกปลามีอายุได้ 3-4 วันจึงให้ไข่แดงต้มสุกเป็นอาหารวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3-5วัน หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นให้ไรแดงและลูกน้ำจนกระทั่งปลาโต รวมทั้งการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราส่วนเพศ ด้วยวิธี "Chi-Square test"
ทั้งนี้ เมื่อเลี้ยง "ปลากัด" ด้วยน้ำหมักจาก "ใบมังคุดสด" ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ กันเป็นเวลา 30 วัน พบว่า สารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 25 กรัม มีผลต่อการเปลี่ยนลักษณะเพศปลามากที่สุด นั่นคือ เพศผู้ คิดเป็น 76.79% ในขณะที่เพศเมีย คิดเป็น 23.21% เท่านั้น ส่วนสารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 70 กรัม จะมีผลต่อการเปลี่ยนลักษณะปลาเป็นเพศเมีย คิดเป็น 76.81% ในขณะที่เพศผู้ คิดเป็น 23.19% เท่านั้น สำหรับสารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 50 กรัม ไม่มีความแตกต่างระหว่างสัดส่วนเพศ แต่ถ้าใช้สารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 100 กรัม ก็จะทำให้ "ปลากัด" ไม่สามารถทนได้และเสียชีวิตไปทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เมื่อเลี้ยงปลาด้วยน้ำหมักจาก "ใบมังคุดแห้ง" กลับไม่พบว่ามีผลต่ออัตราการเปลี่ยนเพศและสัดส่วนเพศให้เป็นเพศผู้ ไม่ว่าจะมีสารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 0 กรัม 25 กรัม 50 กรัม 70 กรัม หรือ 100 กรัม โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงด้วยสารที่ระดับความเข้มข้น 25 กรัมนั้นพบว่า การเปลี่ยนเพศมีความแตกต่างกันน้อยมากคือ เพศผู้ 42.08% และเพศเมีย 57.92% ดังนั้นปลาที่เลี้ยงด้วยสารสกัด "ใบมังคุดแห้ง" ทุกชุดการทดลองจะมีอัตราส่วนเพศเมียสูงกว่าเพศผู้ และไม่สามารถแปลงให้เป็นเพศผู้ได้
โดย "อุไรวรรณ วัฒนกุล" มีข้อเสนอแนะอันสืบเนื่องมาจากงานวิจัยว่า ควรจะมีการทดลองระดับความเข้มข้นของสารสกัดไม่ให้เกิน 25 กรัม เพื่อหาระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนเพศ รวมทั้งควรทำการศึกษาการใช้ "ใบมังคุด" ในการแปลงเพศปลาเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ที่ต้องการเพศเมียเป็นหลัก และควรจะมีการศึกษาทดลองหมัก "ปลากัด" ตั้งแต่ยังเป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อดูถึงประสิทธิภาพในการที่จะเปลี่ยนเพศ
ผลของโครงการในครั้งนี้สรุปได้ชัดเจนว่า สารสกัด "ใบมังคุดสด" ที่ระดับความเข้มข้น 25กรัมนั้น มีผลต่อการเปลี่ยนลักษณะ "ปลากัด" ให้เป็นเพศผู้มากที่สุด ถือเป็นข่าวดีสำหรับทั้งผู้ขายและผู้เลี้ยงที่จะมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้สวยงามและตรงกับความต้องการ แม้จะเป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ที่อาจจะดูแปลกๆ กันไปบ้างก็ตามที