วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โรคปลากัดและวิธีรักษา ภาค 2

โรคปลากัดและวิธีรักษา...@โรคปลา@...สำหรับโรคที่มักพบในปลาเลี้ยงทั่วๆ ไปก็ได้แก่
โรคจุดขาว
- จะเห็นเป็นจุดขาวๆบริเวณตัวปลาและติดต่อกันได้ด้วย
การรักษา
1.ใช้เมททีลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน 5 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
2.ใช้ยาแอนตีไบโอติค 50 มิลิกรัม / น้ำ 4.5 ลิตร
3.ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลายยา 1-2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร นำปลามาแช่ 3 วันจึงเปลี่ยนน้ำ

โรคสนิม
- โรคนี้จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่ เกาะตามผิวหนัง ลำตัวและเหงือกของปลา จนทั่วตัวต่างกับโรคจุดขาวคือ มีสีเหลืองเล็กและเข้มกว่า
การรักษา
1.ใช้เกลือแกงเข้มข้น 1% แช่ปลาไว้นาน 24 ช.ม. ควรทำซ้ำทุก 2 วัน
2.ใช้เมททีลีน บูล อัตตรา 10 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ประมาณ 2 สัปดาห์
3.ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) 4 มิลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร และทำซ้ำจากครั้งแรก 1 สัปดาห์
4.ยา Antibiotic ใช้เหมือนกับโรคจุดขาว

โรคเชื้อรา
- โรคนี้เกิดต่อเมื่อปลาได้รับบาดเจ็บหรืออ่อนแอ ปลาจะมีลักษณะผิวเป็นปุยสีขาว คล้ายสำลีตามลำตัว หรืออาจมีเส้นราเกิดขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที ราจะกระจายและทำอันตรายเนื้อเยื่อของปลาและอาจถึงตายได้
การรักษา
1.ใช้ "มาลาไคท์ กรีน" เข้มข้น 60 ppm. หรือ 1:15,000 และนำปลาแช่ 30 นาที ถ้าไม่หายก็ทำซ้ำอีก
2.ใช้เกลือแกง ค่อยๆใส่ลงในน้ำ ปลาจะทนความเข้มข้นได้ 0.5 % โดยเติมสารละลายเกลือ 1 ช้อนชา / น้ำ 4.5 ลิตร ทุก 2-3 ช.ม. จนครบ 5 ช้อนพอดี จึงหยุดเพิ่มความเข้มข้นของเกลือแกง ในน้ำนี้ ใช้เวลา 1-2 วัน

โรคราที่ปาก
- โรคนี้เกิดจากแบคทีเรียบริเวณปากและกระจายไปอย่างรวดเร็วลักษณะเป็นเส้นสีขาวและดำรอบริมฝีปาก ทำให้ปลาไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากปลาเจ็บปาก และเป็นไข้
การรักษา
1.ใช้ยาเพนนิซิลิน 100,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ยา Antibiotic ทีใช้กับโรคจุดขาวก็ใช้ได้3.ใช้ยาเพนนิซิลิน ยานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อปลาและสะดวกต่อการใช้ ถ้ายังไม่หายให้เพิ่มอัตตราการใช้เป็น 200,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร ปลาจะหายภายในไม่กี่วัน

โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย
- โรคนี้จะแสดงอาการได้ชัด คือเห็นว่าครีบและหางขาดและอาจลามถึงโคน ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณโคนหาง
การรักษา
1.โดยให้ปลาได้รับ acration ร่วมกับการใช้ยาเพนนิซิลิน 15,000 หน่วย / น้ำ 1 แกลลอน

โรคท้องมาร
- โรคนี้เนื่องมาจากเชื้อไวรัส ปลาที่เป็นโรคท้องมารเกล็ดจะชี้ตั้งขึ้นส่วนท้องจะบวมเนื่องจากมีของเหลวภายในช่องท้อง
การรักษา
1.ใช้ Chloromycetin ใส่ในน้ำ 50-100 mg. / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ Para-chlorophenoxethol เข้มข้น 1.20 มิลลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร ค่อยๆใส่จนถึง 24 ช.ม.
3.โดยการเจาะลำตัวปลาบริเวณเหนือช่วงเปิด แต่การรัษาโดยวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ อย่าให้ถูกอวัยวะ ภายในเป็นอันขาด

โรคตาโปน
- เกิดจากแบคทีเรีย หรือหลังจากการได้รับบาดแผลเป็นรอยถลอกบริเวณใกล้ๆ นัยน์ตา ตาจะปูดปวมขึ้นมาและโปนกว่า ปกติมาก
การรักษา
1.โดยการจับปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่มีใบหูกวาง 2-3 วัน อาการตาปูดก็จะหายไปอนื่งยางของใบหูกวางที่ละลายอยู่ในน้ำจะช่วยรักษาแผลต่างๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

โรคเชื้อแบคทีเรีย
- โรคนี้มีอาการปรากฏคือ มีอาการท้องบวมและมีของเหลวในช่องท้องมาก แต่ไม่มีอาการเกล็ดตั้งขึ้น
การรักษา
1.แช่ไว้ในยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเทตราไซคลินหรือคลอแรมฟินิคัล ที่มีความเข้มข้น 10-20 ส่วนในล้านส่วนและต้องเปลี่ยน น้ำยาแช่ใหม่ทุกวันและเติมยาให้มีความเข้มข้นเท่าเดิมทุกครั้ง โดยแช่ติดต่อกัน 3-5 วัน

โรคกระเพาะลม
- โรคนี้จะทำให้ปลาเสียการทรงตัว ปลาที่มีการทรงตัวไม่ดีอาจจะท้องหงายขึ้นลอยตามผิวน้ำ หรือจมอยู่ที่พื้นราบการรักษาสำหรับโรคนี้ไม่สามารถทำการรักษาได้ ตายสถานเดียวครับ...!

โรคสีลำตัวซีด
- โรคนี้เกิดจากมีสัตว์เซลล์เดียวมาเกาะ ทำให้ปลามีการขับเมือกออกจากตัวมากผิดปรกติ ปลาจะมีสีซีด
การรักษา
1.เช่นเดียวกับการรักษาโรคจุดขาว

โรคปรสิต (พยาธิใบไม้และหนอนสมอ)
- มักพบตามตัว เหงือก ครีบ มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ ส่วนหนอนสมอ จะเห็นเป็นเส้นด้ายสั้นเกาะอยู่ตามผิวตัว ทำให้ปลาแคระแกรนและอาจตายในที่สุด
การรักษา
1.ใช้ด่างทับทิมละลายในน้ำให้มีความเข้มข้น 2 ppm. / น้ำ 1 ลิตร
2.ใช้กรดน้ำส้มเข้มข้น 1 : 500 แช่ปลานาน 20 วืนาที และจะทำซ้ำหลังจากนั้น 3 วันก็ได้
3.ใช้ฟอร์มาลิน 20 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร แช่ปลานาน 5-10 นาที

โรคปลาตัวสั่น
- โรคนี้มีสาเหตุไม่แน่นอนเนื่องจากน้ำที่เลี้ยงสกปรกเกินไปหรือเกิดจากในน้ำมีสารพิษ เช่น คลอรีนมากเกินไปก็ได้ ดังนั้นปลาจึงมีอาการตัวสั่น
การรักษา
1.ต้องรีบเปลี่ยนน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเจริญเติบ(ผิดพลาดยังไงบอกด้วยนะคับ)


ข้อมูลที่ได้กล่าวไปนั้นได้ทำการคัดลอกมาจาก http://www.bettanetwork.com/new/archiver/?tid-199.html

เทคนิคการฝึกหัดปลากัดเพื่อการแข่งขันหรือปลาเก่ง



สำหรับปลากัดที่ดีและพร้อมลงสนามจะต้องได้รับการฝึกให้กัดเก่ง ด้วยการฝึกตั้งแต่ในบ่อเลี้ยงแล้วทำการคัดเลือกปลาที่กัดเก่ง ออกมแล้วนำไปกัดกัดปลากัดในครอกอื่นๆ จนกระทั่งได้ปลาที่กัด เก่งตามความต้องการ เดิมทีนั้นก่อนที่จะนำปลากัดออกกัดใน
สนามแข่งต่างๆคนเก่าแก่มักจะมีคาถาสำหรับเป่าเสกกำกับการกัด ปลาในแต่ละครั้งซึ่งคาถาสำหรับการกัดปลาในแต่ละครั้งก็คือ นะกัดตัง กะขะชนะ ตังข้ามีกำลังดังพระยาปลาใน หาสมุทรสุกุโย เกล็ดแก้วมณีหุ้มห่อตัวข้าดังเกาะเพชรพุตากะเก เขี้ยวแก้วทั้งสี่ดุจตรีเพชรหนุมาน มะอะอุ ปลาใดมารอนราน วินาศ สันติ
สำหรับปลาที่จะเลี้ยงเพื่อการแข่งขันหรือการกัดนั้นพออายุครบ 6-8 เดือน ให้อาปลาขึ้นมาจากอ่างมาใส่ขวด เพื่อดูว่าปลาตัวไหนสมบูรณ์และลักษณะดีก็ให้คัดไว้ลงอ่างหมักที่ใช้ใบตองแห้งของกล้วยน้ำว้าหรือใบหูกวางแช่อ่างหมักทิ้งไว้ 10-15 วัน จึงนำเอาปลาขึ้นมา หากเป็นปลาที่ อ้วนเกินไปในระหว่างหมักก็ควรให้อดอาหารบ้าง โดยให้อาหารวันเว้นวัน เมื่อครบกำหนตามที่หมักไว้จะได้ปลาที่มีรูปร่างสวยเกล็ดแน่น ผิวเป็นมันเรียบ ต่อจากนั้นให้นำปลามาใส่ในขวดและเริ่มฝึกได้
ในการฝึกปลาจะมีชื่อเรียกว่า”ลูกไล่” ให้หาขวดหลน้ำกลั่นมาตัดปากออก เพื่อความสะดวกเวลาตักปลาแล้วให้เอาปลาตัวเมียเล็กๆขนาดอายุได้ 3-4 เดือนระมาณ 5-6 ตัว ใส่ลงในโหลพอเช้าประมาณ 6-7 โมง ก็เป็นปลาที่เลี้ยงให้พองใส่กันประมาณ 1 นาที เมื่อเห็นว่าดุดีแล้วก็ตักใส่โหลลูกใหม่ปลาก็จะไล่กัดลูกไล่ไปรอบๆ ให้มันไล่อยู่ประมาณ 30 นาที ก็ให้ตักปลาตัวผู้ขึ้น การทำเช่นนี้จะทำให้ปลาว่ายน้ำแข็งแรงไม่ตก
นอกจากการฝึกลูกไล่แล้วก็ต้องฝึก”พานตัวเมีย” โดยเอาปลากัดตัวเมียที่มีขนาดใหญ่หน่อยนึงลงหมักประมาณ 4-5 วันเพื่อให้ปลาดุแล้วนำมาใส่โหลจากนั้นให้เอาปลากัดตัวผู้ที่เลี้ยงใส่ลงไปทั้งปลาตัวผู้และปลาตัวเมียจะพองเข้าหากัน คล้ายจะกัดกันมีการวิ่งล่อไปมา การพานตัวเมียนี้จะใช้เวลาประมาณ 3-5นาทีก็พอ และเวลาพานตัวเมียนั้นต้องคอยดูตลอดเวลา อย่าให้ปลาตัวผู้กัดปลาตัวเมียได้ เพราะไม่เช่นนั้นปลาตัวเมียจะกลัว ไม่พองเข้าหาตัวผู้หรือลูกไล่ล่อกับปลาตัวผู้การพานก็จะไม่มีประโยชน์ การพานนี้ควรทำในช่างบ่าย พอพานเสร็จแล้วก็ให้ตักเอาออกมาใส่ขวดโหลพักไว้สักครู่นึ่งจึงให้อาหารพอถึง6 โมงเย็นก็เอาลงอ่างนอนซึ่งเป็นอ่างที่มีลักษณะเดียวกันกับอ่างรัดตั้งไว้ในที่สงบ ไม่ให้สะเทือนทำเช่นนี้ติดต่อกันประมาณ 10-12 วัน ปลาที่เลี้ยงไว้ก็จะสมบูรณ์กัดไม่แพ้คู่ต่อสู้ ซึ่งเซียนปลากัดมักกล่าวกันว่า”น้ำเลี้ยงดี” เช่นเดียวกับไก่ชน ปลากัดพวกนี้แม้ว่าจะมีความดุจริง แต่ถ้าถูกช้อนใส่ขวดใหม่หรือถูกแสงสว่างอย่างกะทันหันมันจะตื่นตกใจได้ง่ายๆ เหมือนกันดังนั้นก็ต้องมีการฝึกโดยหมั่นเปลี่ยนขวดบ่อยๆไม่ให้ซ้ำลักษณะแบบเดียวกันเป็นการฝึกให้ปลาเคยชินกับสถานที่ใหม่ๆ ไม่จำเจ เมื่อถึงวลานำไปกัดจริง มันก็จะไม่เกิดอาการตื่นเวที การฝึกแบบนี้เรียกว่า”ปลอบ” เทคนิคการนำปลากัดเข้าแข่งขัน ว่ากันว่าเวลากัดที่เหมาะแก่การนำเข้าแข่งขันหรือเพื่อการกัดนั้นจะต้องเป็นปลาที่มีอายประมาณ1 ปีเต็มเพราะปลากัดอายุ1เต็มจะเป็นปลาที่สมบูรณ์แข็งแรง และแกร่งพอที่จะเป็นปลานักสู้ได้อย่างเต็มความามารถ แต่ความเป็นปลากัดเก่งใช่ว่าจะอยู่ที่อายุหรือขนาดของปลาก็หาไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับการฝึกหัดปลาด้วย รมถึงการหมักปลากัดให้ไความแกร่ง เกล็ดหนาและปากคมแข็งแรง ซึ่งหลักการเหล่านี้บรรดาเซียนปลากัดแต่ละคนจะมีเทคนิคการทำให้ปลาเก่งแตกต่างกันดังจะเห็นได้จาก ป้ายหน้าร้านตามตลาดซันเดย์ว่าเป็นปลากัดเก่งจากฉะเชิงเทราบ้าง ราชบุรีบ้าง เพชรบุรีบ้าง นครปฐมบ้างหรือไม่ก็เป็นปลากัดเก่งจากภาคใต้
ส่วนการเทียบคู่ปลาเพื่อการกัดกันนั้น จะอาศัยการวางขวดที่มีปลาพร้อมจะลงสู่สนามกัดอยู่ในขวด โดยการวางขวดใกล้ๆกัดเพื่อจะได้สังเกตดูขนาดของตัวปลาว่ามีความเหมาะสมที่จะกัดกันหรือไม่ เมื่อต่างฝ่ายต่างก็ดูว่าปลาของตนมีขนาดใกล้เคียงกันหรือไม่บางครั้งก็อาศัยความพอใจและการตกลงกันของทั้งสองฝ่ายด้วย โดยไม่จำเป็นว่าปลาจะมีขนาดเท่าหรือใกล้เคียงกันเพียงอย่างเดียวหลังจากที่ต่างฝ่ายต่างเทียบปลากันแล้วตกลงที่จะปล่อยปลากัด พวกเขาทั้งสองฝ่ายก็จะเทน้ำออกจากขวดโหลที่ตนใส่ปลามาลงนาชนะที่เตรียมไว้เหลือน้ำในขวดโหลพียงเล็กน้อย จากนั้นจึงเทปลารวมกันเพื่อการแข่งขันกันต่อไป
อนึ่งในการที่บรรดาเซียนปลากัดทั้งหลายจะทำการคัดเลือกปลาของตนเองมาเพื่อการแข่งขันกันนี้ก็ต้องอาศัยมือน้ำเลี้ยงดังกล่าวโดยการคัดเลือกปลาที่มีลักษณะเด่นในการกัดเป็นปลากัดแม่น กัดรุนแรง กัดเฉพาะที่สำคัญเช่นบริเวณหูบริเวณกระเพาะ และบริเวณหางหรือตามครีบต่างๆของลำตัวปลา ว่ากันว่าปลากัดเก่งในแต่ละครอกจะมีความเก่งเหมือนกันแทบทุกตัว คือหากเป็นประหลาดีก็จะดีทั้งครอก ตรงกันข้ามหากเสียก็จะเสียทั้งครอกเช่นกัน “ถ้าขี้แพ้ก็แพ้เหมือนกันทั้งครอกชนะก็ชนะเหมือนกันทั้งครอก”
ข้อสำคัญเมื่อปลากัดที่กัดแข่งขันกันชนะแล้วจะไม่สามารถนำปลานั้นมากัดได้อีกเป็นครั้งที่สองเนื่องจากว่าปลาจะบอบช้ำเกินไป ควรนำไปเลี้ยงเป็นพ่อพันธุ์เท่านั้นและควรดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีในการพักฟื้นปลา เมื่อปลาพักฟื้นดีแล้วจึงนำไปผสมพันธุ์ต่อไป ฉะนั้นเมื่อปลากัดผ่านการฝึกฝนที่ดีแล้วย่อมได้เปรียบใน การกัดกันเพื่อการแข่งขันทุกครั้งแต่ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของปลาในแต่ละแหล่งด้วยว่ามีความทนทานหนังเหนียวหรือกัดเก่งดีหรือไม่ อย่างเช่นปลากัดที่ขึ้นชื่อคือปลากัดแดริ้ว ปลากัดเพชรบุรี และปลากัดมาเลเซียเป็นต้น.

วิธีการแปลงเพศปลากัด


"ปลากัด" ปัจจุบันได้รับความนิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ เนื่องจากเพศผู้นั้นจะมีสีสันสดใสสวยงาม รวมทั้งยังมีครีบหูยาวและใหญ่กว่าเพศเมีย จากลักษณะนี้จึงมีการใช้ต่อสู้กันเพื่อเป็นเกมกีฬาและการพนัน จึงทำให้เพศผู้เป็นที่นิยมในการเลี้ยงมากกว่า
แต่จากการศึกษาพบว่าอัตราส่วนเพศผู้และเพศเมียที่ได้จากการเพาะพันธุ์เป็น 1 ต่อ 1 ดังนั้น ผู้เลี้ยงปลาชนิดนี้เพื่อการจำหน่าย จึงต้องศึกษาเทคนิคในการเพาะพันธุ์ที่เหมาะสมและลดต้นทุน เพื่อให้ได้เพศที่ตรงกับความต้องการของตลาด
การใช้ฮอร์โมนในการแปลงเพศปลาหรือในการผลิตปลาเพศใดเพศหนึ่ง กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก แต่วิธีการนี้ก็ยังมีข้อจำกัดการอยู่มากทั้งในด้านราคาและวิธีใช้เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีพื้นความรู้ทางด้านการใช้ฮอร์โมนน้อยอยู่ ดังนั้น อาจได้ "ปลากัด" ที่ไม่ตรงกับความต้องการ ต้องสั่งซื้อฮอร์โมนมาจากต่างประเทศ ทำให้เกิดการเสียดุลการค้า
คณะวิทยาศาสตร์การประมง สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลตรัง โดย "อุไรวรรณ วัฒนกุล"จึงทำ "โครงการศึกษาสารสกัดจากใบมังคุดต่อการเปลี่ยนลักษณะเพศในปลากัด" ขึ้น และได้ผลออกมาน่าสนใจยิ่ง
การวิจัยในครั้งนี้ได้มีการนำ "ใบมังคุด" ทั้งสดและแห้ง มาทำการทดลองในแต่ละความเข้มข้นว่ามีผลต่อการเปลี่ยนลักษณะเพศหรือสัดส่วนเพศมากน้อยแค่ไหน โดยนำมาสกัดเป็นน้ำชาเพื่อเลี้ยง "ปลากัด" ตั้งแต่แรกเกิดจนสามารถแยกเพศได้ เพื่อเป็นแนวทางในการนำฮอร์โมนจากธรรมชาติมาใช้ทดแทน หากได้ผลก็จะเป็นประโยชน์ในการนำมาเปลี่ยนเพศปลาหรือทำหมันปลาเพื่อลดกิจกรรมการสืบพันธุ์และส่งผลต่อการเพิ่มอัตราเจริญเติบโต ตลอดจนสามารถนำไปใช้ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามได้
สำหรับวิธีการศึกษานั้นแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ การเตรียมสารสกัดจาก "ใบมังคุดแห้ง" ด้วยการ
ทดลองเลี้ยงปลาพ่อแม่พันธุ์ที่มีความสมบูรณ์เพศและพร้อมที่จะผสมพันธุ์ ในอัตราส่วนน้ำเปล่าต่อน้ำสกัดจาก"ใบมังคุด" เท่ากับ 1 ต่อ 1 จนเมื่อลูกปลามีอายุได้ 3-4 วันจึงให้ไข่แดงต้มสุกเป็นอาหารวันละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3-5วัน หลังจากนั้นเปลี่ยนเป็นให้ไรแดงและลูกน้ำจนกระทั่งปลาโต รวมทั้งการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราส่วนเพศ ด้วยวิธี "Chi-Square test"
ทั้งนี้ เมื่อเลี้ยง "ปลากัด" ด้วยน้ำหมักจาก "ใบมังคุดสด" ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ กันเป็นเวลา 30 วัน พบว่า สารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 25 กรัม มีผลต่อการเปลี่ยนลักษณะเพศปลามากที่สุด นั่นคือ เพศผู้ คิดเป็น 76.79% ในขณะที่เพศเมีย คิดเป็น 23.21% เท่านั้น ส่วนสารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 70 กรัม จะมีผลต่อการเปลี่ยนลักษณะปลาเป็นเพศเมีย คิดเป็น 76.81% ในขณะที่เพศผู้ คิดเป็น 23.19% เท่านั้น สำหรับสารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 50 กรัม ไม่มีความแตกต่างระหว่างสัดส่วนเพศ แต่ถ้าใช้สารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 100 กรัม ก็จะทำให้ "ปลากัด" ไม่สามารถทนได้และเสียชีวิตไปทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เมื่อเลี้ยงปลาด้วยน้ำหมักจาก "ใบมังคุดแห้ง" กลับไม่พบว่ามีผลต่ออัตราการเปลี่ยนเพศและสัดส่วนเพศให้เป็นเพศผู้ ไม่ว่าจะมีสารสกัดที่ระดับความเข้มข้น 0 กรัม 25 กรัม 50 กรัม 70 กรัม หรือ 100 กรัม โดยเฉพาะปลาที่เลี้ยงด้วยสารที่ระดับความเข้มข้น 25 กรัมนั้นพบว่า การเปลี่ยนเพศมีความแตกต่างกันน้อยมากคือ เพศผู้ 42.08% และเพศเมีย 57.92% ดังนั้นปลาที่เลี้ยงด้วยสารสกัด "ใบมังคุดแห้ง" ทุกชุดการทดลองจะมีอัตราส่วนเพศเมียสูงกว่าเพศผู้ และไม่สามารถแปลงให้เป็นเพศผู้ได้
โดย "อุไรวรรณ วัฒนกุล" มีข้อเสนอแนะอันสืบเนื่องมาจากงานวิจัยว่า ควรจะมีการทดลองระดับความเข้มข้นของสารสกัดไม่ให้เกิน 25 กรัม เพื่อหาระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนเพศ รวมทั้งควรทำการศึกษาการใช้ "ใบมังคุด" ในการแปลงเพศปลาเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ที่ต้องการเพศเมียเป็นหลัก และควรจะมีการศึกษาทดลองหมัก "ปลากัด" ตั้งแต่ยังเป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อดูถึงประสิทธิภาพในการที่จะเปลี่ยนเพศ
ผลของโครงการในครั้งนี้สรุปได้ชัดเจนว่า สารสกัด "ใบมังคุดสด" ที่ระดับความเข้มข้น 25กรัมนั้น มีผลต่อการเปลี่ยนลักษณะ "ปลากัด" ให้เป็นเพศผู้มากที่สุด ถือเป็นข่าวดีสำหรับทั้งผู้ขายและผู้เลี้ยงที่จะมีการพัฒนาสายพันธุ์ให้สวยงามและตรงกับความต้องการ แม้จะเป็นการใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ที่อาจจะดูแปลกๆ กันไปบ้างก็ตามที

โรคที่พบในปลากัด และการป้องกันรักษา

ปลากัดที่เลี้ยงถูกวิธีมักไม่ค่อยเป็นโรค แต่ถ้าสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมัน ( อุณหภูมิลดต่ำลง น้ำสกปรก ) ปลากัดก็จะเป็นโรคได้ โรคที่มัก พบในปลากัด มีดังนี้
โรคจุดขาว ( White spot disease )
เกิดจากสัตว์เซลล์เดียวที่ชื่อว่า Ichthyophthirius multifilis นิยมเรียกทั่วไปว่า " อิ๊ค " เป็นสัตว์เซลล์เดียวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด พบว่า ทำให้ปลาเกิดโรคในปลา ตัวอ่อนของ " อิ๊ค " จะฝังตัวเข้าไปอยู่ใต้เยื่อบุผิวบริเวณลำตัวและเหงือก ทำให้เห็นบริเวณนั้นเป็นจุดขาว ๆ ขนาดประมาณ 0.5 -1.0มม. เมื่ออิ๊คเจริญเต็มที่จะหลุดออกจากตัวปลา ว่ายน้ำเป็นอิสระและจะสร้างเกราะหุ้มตัว มีการแบ่งเซลล์ขยายพันธุ์ รวดเร็วเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่า " โทไมท์ " ( Tomite ) ในเกราะหนึ่งจะมีโทไมท์ตั้งแต่500 -2,000 ตัว เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมเกราะจะแตกออก โทไมท์ก็จะว่ายน้ำไปเกาะที่ตัวปลาต่อไป มักจะพบโรคจุดขาวระบาด ในช่วงที่อุณหภูมิของน้ำมีการเปลี่ยนแปลงจากสูงเป็นต่ำหรือต่ำเป็นสูง การรักษาที่ได้ผลดี คือ ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 25 - 30 ส่วนในล้านสูง(ppm) ผสมกับมาลาไคท์กรีน 0.1 ส่วนในล้านส่วน แช่ติดต่อกัน 3 - 5 วัน แล้วจึงเปลี่ยนน้ำ

โรคสนิม ( Velvet disease )
เกิดจากสัตว์เซลล์เดียวชนิดแส้ ( Flagellum ) มีรูปกลมรี มีชื่อว่า Oodinium sp. อาการของโรคนี้คือ ตามผิวหนังปลาจะมีลักษณะคล้ายกำมะหยี่สีเหลืองปนน้ำตาล กระจายเป็นหย่อม ๆ เนื่องจากมี Oodinium เกาะอยู่ พบปรสิตนี้ตามลำตัวและเหงือก การป้องกัน และกำจัด ควรใช้เกลือแกงเข้มข้น 1 % แช่ปลาไว้นาน 24 ชั่วโมง และควรทำซ้ำทุก 2 วัน หลังจากเปลี่ยนน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาออกหมดแล้ว

โรคที่เกิดจากปลิงใส
ปลิงใสที่พบมีอยู่ 2 ชนิด คือ Gryodactylus sp. และ Dactylogyrus sp. อาการของโรคที่พบในปลากัด คือ ส่วนหัวของปลาจะซีด ส่วนลำตัวของปลามีสีเข้ม และมีอาการของครีบกร่อนร่วมด้วยพบปรสิตนี้ตามลำตัวและเหงือก การป้องกันและกำจัดควรใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น 30 - 50 ส่วนในล้านส่วน หรือ Dipterex เข้นข้น 25 ส่วนในล้านส่วน แช่ตลอดไป

โรคที่เกิดจากเชื้อรา
โดยปกติแล้วเชื้อราไม่ใช่สาเหตุที่แท้จริงของโรค มักจะพบหลังจาก ปลาบอบช้ำเนื่องจากการจับ เชื้อราที่มักพบเสมอคือ Ssprolegnia sp. อาการของโรคจากเชื้อรา คือ จะเห็นเป็นปุยขาวคล้ายสำลีบริเวณที่เป็นโรค สำหรับการรักษาใช้มาลาไคท์กรีน เข้มข้น 0.1 - 0.25 ส่วนในล้านส่วนร่วมกับฟอร์มาลินเข้มข้น 25 ส่วนในล้านส่วน แช่ติดต่อกัน 3 วัน

โรคที่เกิดจากแบคทีเรีย
อาการที่ปรากฏคือ มีอาการท้องบวม และมีของเหลวในช่องท้องมาก การรักษา ใช้แช่ในยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเทตราไซคลิน หรือ คลอแรมฟินิคอลที่มีความเข้มข้น 10 - 20 ส่วนในล้านส่วนโดยแช่ติดต่อกัน 3 - 5 วัน และต้องเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวัน แล้วเติมยาให้มีความเข้มข้นเท่าเดิมทุกครั้งหรือใช้เกลือแกงเข้มข้น 0.5 %

การอนุบาลลูกปลา

ไข่ปลากัดจะฟักเป็นตัวหลังจากได้รับการผสมน้ำเชื้อประมาณ 36 ชั่วโมง โดยในช่วงแรก จะมีถุงอาหาร (Yolk sac) ติดตัวมาด้วย ดังนั้นช่วง 3-4 วันแรก จึงยังไม่ต้องให้อาหารเป็นเวลา 3—5 วัน แล้วจึงเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนของไรแดง (Moina) ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นไรแดงเต็มวัย เลี้ยงต่อไปจนกระทั่งปลาสามารถกินลูกน้ำได้ และผู้เลี้ยงสามารถแยกเพศปลากัดได้เมื่อปลามีอายุประมาณ 1 เดือนขึ้นไป

วิธีการเพาะพันธุ์ปลากัด

1. นำขวดปลาเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่มาวางติดกัน ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า “เทียบคู่” ซึ่งควรจะเป็นบริเวณที่ปราศจากสิ่งรบกวน จะทำให้ปลาตกใจ ใช้เวลาเทียบคู่ประมาณ 3-10 วัน
2. จากนั้นนำปลาเพศผู้และเพศเมีย ใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับผสมพันธุ์ เช่น ขันพลาสติก โหลแก้ว กาละมัง ตู้กระจกหรืออ่างดิน แล้วใส่พันธุ์ไม้น้ำที่แช่ด่างทับทิมเรียบร้อยแล้ว ซึ่งชนิดพันธุ์ไม้น้ำที่นิยมใช้ ได้แก่สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระรอก จอก ใบผักตบชวาเป็นต้น
3. เมื่อปลาสามารถปรับตัวให้ชินกับสภาพในภาชนะ (ประมาณ 1-2 วัน) ปลาเพศผู้จะเริ่มก่อหวอดติดกับพันธุ์ไม้
4. หลังจากสร้างหวอดเสร็จ ปลาเพศผู้จะพองตัวกางครีบ ไล่ต้อนตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอด
5. ขณะที่ตัวเมียลอยตัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำ ปลาตัวผู้จะรัดตัวเมียบริเวณช่องอวัยวะเพศ
6. จากนั้นไข่ก็จะหลุดออกมา พร้อมกับเพศผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาเพศผู้จะตามลงไปใช้ปากดูดไข่อมไว้ ว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่เข้าไปไว้ในฟองอากาศจนกว่าจะหมด
7. เมื่อสิ้นสุดการวางไข่ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่เพียงลำพัง และจะไล่ต้อนปลาเพศเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะ
8. หลังจากนั้นรีบนำปลาเพศเมียออกจากภาชนะเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศเมียกินไข่
9. ปล่อยให้ปลาเพศผู้ดูแลไข่ 2 วัน จึงแยกเพศผู้ออก

ลักษณะสีของปลากัด




โดยสรุปสีของปลากัดที่เป็นมาตรฐาน จะมีรูปแบบพื้นฐาน 5 รูปแบบ คือ สีเดี่ยว สองสีลายผีเสื้อ ลายหินอ่อน และหลากสี

ปลากัดสีเดี่ยว
ปลากัดสีเดี่ยว เป็นปลากัดที่มีสีเดียวทั้งลำตัวและครีบ และเป็นสีโทนเดียวกันทั้งหมด ปลากัดสีเดี่ยวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ปลากัดสีเดี่ยว สีเข้ม และปลากัดสีเดี่ยวสีอ่อน และอาจแบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ลงไปได้อีกตามรายละเอียดของสี ปลากัดสีเดี่ยวที่สมบูรณ์จะต้องไม่มีสีอื่นใดปะปนใน ส่วนของลำตัวและครีบเลย ยกเว้นที่ดวงตา และเหงือก
ปลากัดสองสี
ลักษณะที่สำคัญของปลากัดสองสี คือลำตัวจะต้องมีสีเดียว และครีบทั้งหมดจะต้องมีสีเดียวเช่นกัน แต่สีของครีบ จะต้องต่างกับสีของลำตัว ปลากัด สองสีอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ปลากัดสองสีชนิดลำตัวสีเข้ม ปลากัดสองสีชนิดนี้จะมีลำตัวสีเข้มสีใดสีหนึ่ง เช่น แดง ดำ น้ำเงิน เขียว และครีบก็ต้องเป็นสีเดียวที่เป็น สีอื่น ที่ไม่เหมือนสีของลำตัวโดยอาจเป็นสีเข้มอื่นๆ หรือเป็นสีอ่อนก็ได้ ลักษณะที่สำคัญของปลากัดสองสีลำตัวสีเข้มที่ดีคือ มีสีลำตัวและสีครีบตัดกันชัดเจน และสีของลำตัวและสีของครีบแยกกันตรงบริเวณที่ครีบต่อกับลำตัว
2. ปลากัดสองสีชนิดลำตัวสีอ่อน เป็นปลากัดที่มีลำตัวสีอ่อนสีใดสีหนึ่งและมีครีบอีกสีหนึ่งที่แตกต่างจากสีของลำตัวอาจเป็นสีอ่อนหรือเข้ม ก็ได้ ลักษณะที่สำคัญของปลากัดสองสีลำตัวสีอ่อนที่ดีคือสีลำตัวและสีครีบต้องตัดกันชัดเจน ครีบที่มีสีเข้มจะดีกว่าครีบสีอ่อน สีของลำตัวและสีของครีบแยกกันตรงบริเวณส่วนต่อระหว่างครีบและลำตัว

ปลากัดสีลวดลาย
ปลากัดที่อยู่ในประเภทนี้เป็นปลากัดที่ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทสีเดี่ยวและสองสี ประกอบด้วยกลุ่มย่อย ๆ ดังนี้
(1) ปลากัดลายผีเสื้อ
ปลากัดลายผีเสื้อเป็นปลากัดที่มีสีเป็นลวดลายรูปแบบเฉพาะที่บริเวณครีบ โดยครีบจะมีสีเป็นแถบ ๆ ขนานกับเส้น วงรอบลำตัว การพิจารณาลักษณะ ที่ดีของปลากัดลายผีเสื้อ จะพิจารณาที่การตัดกันของแถบสี และความคมของขอบสีเป็นหลักไม่ใช่ดูที่สีของลำตัวและครีบเหมือนทั่ว ๆ ไป ปลากัดที่ มีสีของครีบซึ่งแถบสีด้านในเป็นสีเหลืองและแถบด้านนอกเป็นสีเหลืองอ่อนจึงไม่จัดอยู่ในประเภทลายผีเสื้อ แนวของแถบสีบนครีบควรลากเป็นรูปไข่ รอบตัวปลา ปลากัดลายผีเสื้อ
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- ลายผีเสื้อ 2 แถบสี ครีบจะประกอบด้วยแถบสีที่ตัดกันชัดเจน 2 แถบ ลักษณะที่ดีแถบสีทั้งสองควรจะมีความกว้างเท่ากัน เป็นคนละครึ่งของความ กว้างของครีบ
- ลายผีเสื้อหลายแถบสี หมายถึงปลากัดลายผีเสื้อที่สีของครีบมีตั้งแต่ 3 แถบขึ้นไป ลักษณะที่ดีความกว้างของแถบสีแต่ละแถบควรจะเท่ากับความ กว้างของครีบหารด้วยจำนวนแถบสี สีของลำตัวและสีของครีบแถบแรกที่อยู่ชิดลำตัวอาจเป็นสีเดียว สองสี ลายหินอ่อน หรือหลากสีก็ได้
(2) ปลากัดลายหินอ่อน
ปลากัดลายหินอ่อนเป็นปลากัดในชุดของปลาที่มีสีเป็นลวดลายรูปแบบเฉพาะ เช่นเดียวกันโดยครีบจะไม่มีแถบสี และบนลำตัวจะมีสีอื่นแต้มเป็น ลวดลายหินอ่อน ปลากัดลายหินอ่อนแบ่งออกเป็นชนิดหลัก ๆ 2 ชนิด
ลายหินอ่อนธรรมดา ปลากัดชนิดนี้จะไม่มีสีแดง เขียว น้ำเงิน และเทา ปรากฏในลายหินอ่อน บนครีบก็จะไม่ปรากฏสีเหล่านี้เช่นกัน ปลาจะมีสีดำเข้ม หัวหรือหน้าขาว ลวดลายจะประกอบด้วยสีดำ สีเนื้อ และสีขาวเท่านั้น
ลายหินอ่อนสี สีบริเวณหน้าและคางยังคงลักษณะเป็นสีขาว หรือสีเนื้อ แต่ลำตัวและครีบอาจปรากฏสีผสมของสีแดง เขียว น้ำเงิน และเทา ลำตัวของปลากัดลาย หินอ่อนสีอาจประกอบด้วยสีเหล่านี้ในลวดลาย แต่จะต้องมีสีเนื้ออยู่

ลักษณะที่ไม่ดีของปลากัด

ลักษณะที่ไม่ดีของปลากัด ลำตัวบางยาว ถือเป็นปลาที่ไม่แข็งแรง ปากเล็ก ปากบาง หัวสั้นหัวงอนลงล่าง เครื่องมาก ที่เรียกว่า "เครื่องแจ้" เคื่องเพชรหรือหางเพชร ไม้ท้าแพร คือ เป็นสีที่แพรวพราวเกินไป แต่ถ้าเป็นปลากัดพันธุ์หม้อหรือพันธุ์ทางห็ไม่ห้าม แก้มแท่น หมายถึง เกล็ดที่แก้มเป็นแผ่นใหญ่และมีสีแพรวพราว ส่วนมากมักเป็นสีเขียว กระโดวสีแดง หรือที่เรียกว่า "โดงแดง" สำหรับปลาลูกทุ่ง ลูกป่า ถือเป็นลักษณะที่ไม่ดี คือเป็นปลาใจน้อย ดังคำห้ามที่ว่า "วัวลั่นดา"ปลาโดงแดง อย่าแทงมาก " แต่ถ้าเป็นปลาพันธุ์ลูกหม้อหรือพันธุ์พันทางก็ไม่ห้าม ตาโปนหรือตาถลน แววตาเหมือนตาแมวหรือตางูสิง เครื่องหนาหรือทีเรียกว่าเครื่องทึบ เป็นปลาที่เคลื่อนไหวช้า ไม่ว่องไว ปราดเปรียว โคนหางหรือแป้นเล็ก มักเป็นปลาที่ไม่ค่อยมีกำลัง สันหลังขาวที่เรียกว่า "หลังเขียว" เป็นปลาใจน้อย ไม้เท้าสีขาวมากมักเป็นปลาไม้เท้าอ่อน เป็นปลาที่ไม่แข็งแรง และไม่มีน้ำอดน้ำทน หางดอก คือ หางที่มีจุดประทั่วไปในแพนหาง สีของปลากัด ลูกป่าดำเหมือนฐานเรียกว่า "ดำเกล็ดหาย" หรือ "ดำเกล็ดจม" เขียวอมดำ เรียกว่า "เขียวดำ"เขียวคราม คือ เขียวอมน้ำเงิน เขียวใหญ่ คือ สีเขียวแก่ทั้งตัวเขียวลูกหวาย คือ สีเขียวอมแดงเขียวผักตบหรือสีเขียวอ่อนคือ มีสีเขียวเหมือนสีใบผักตบ บางแห่งเรียกว่า "เขียวทืบฟอง" เป็นปลากัดลูกทุ่งหรือลูกป่าชนิดเลวที่สุดคือ มักไม่ชนะคู่ต่อสู้เลยก็ว่าได้แดงปูนแห้ง หรือเรียกว่า "สีหมวนเชี่ยน"แดงอมดำ หรือที่เรียกว่า "สีลูกขรบ" (ตะขบ) หมายถึง สีที่คล้ายกับสีผลตะขบสุกแดงก่ำ เป็นสีแดงแก่แต่มีเกล็ดสีเขียวเล็กน้อยคล้ายผลระกำสุกแดงหมอตาย สีคล้ายกับสีปลาหมอตายเป็นสีแดงจาง ๆ ซีด ๆขาวเป็นสีขาวใสจนเห็นกระดูก เรียกว่า "ขาวเห็นก้าง" เป็นสีของปลากัดที่หายากที่สุด

ลักษณะที่ดีของปลากัด





การดูลักษณะปลากัดจะดูเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ สี รูปทรง (ครีบและลำตัว) และกริยา อาการ ปลาที่สมบูรณ์มีลักษณะที่ดีจะต้องมีอาการกระฉับกระเฉง มีสีสันสวยงาม มีความสมดุล ระหว่างขนาดและลักษณะของครีบและลำตัว และมีครีบที่ได้ลักษณะสวยงาม ปลากัดมีครีบเดี่ยว สามครีบ คือ ครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้น และมีครีบคู่สองคู่คือครีบท้องหรือทวนหรือตะเกียบ และครีบอกซึ่งอยู่ติดบริเวณเหงือก
ครีบหาง เป็นครีบที่มีรูปแบบหลากหลายมากที่สุด รูปแบบโดยทั่วไป สำหรับปลาหางเดี่ยวอาจเป็นหางกลม หางครึ่งวงกลม หางรูปสามเหลี่ยม หางกลมปลายแหลม หางย้วย และหางรูปใบโพธิ์ หางทุกแบบควรมีการกระจาย ของก้านครีบเท่ากัน ระหว่างส่วนบนและส่วนล่างของเส้นที่ลากผ่าน แนวขนานลำตัว หางควรแผ่เต็มสมบูรณ์ได้สัดส่วน ในกรณีของปลาหางคู่ลักษณะหางอาจเป็นลักษณะที่เชื่อมต่อกันจนปลายหางเกือบเป็นเส้นตรง หรือเว้าเล็กน้อย หรือเว้ามากเป็นรูปหัวใจหรือหางแยกที่ซ้อนทับเกยกัน หรือหางที่แยกจากกันเต็มที่โดยไม่ซ้อนทับ หรือเป็นหางที่เว้าลึกในระดับ ต่าง ๆ แต่ยังไม่แยกกันเด็ดขาด
ครีบก้น ลักษณะครีบที่ดีควรจะมีขอบครีบส่วนหน้าและส่วนหลังขนานกันและค่อย ๆ โค้งไปทางด้านหลัง ขอบด้านหน้าและขอบด้านหลัง จะต้องไม่เรียวแหลมเข้าหากัน ลักษณะที่ดีจะต้องแผ่กว้างทำมุม และซ้อนทับดูเป็นเนื้อเดียวกันกับครีบหาง แต่ไม่เชื่อมต่อกับครีบหาง
ครีบท้อง ลักษณะควรเหมือนใบมีดที่มีด้านคมอยู่ด้านหลัง ขอบด้านหน้าโค้งเข้าเล็กน้อยปลายแหลม ครีบทั้งคู่ควรมีความยาวและขนาด เท่ากัน และไม่ไขว้กัน ครีบจะต้องไม่สั้นหรือกว้างเกินไป และไม่ยาวหรือแคบเกินไป
ครีบอก ควรเป็นครีบที่สมบูรณ์กว้างและยาว


การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด



เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้เมื่ออายุประมาณ 1 1/2 -2 เดือน การเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรีบแยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดควรนำมาใช้เลี้ยงปลากัดได้แก่ ขวด(สุรา) ชนิดแบนบรรจุน้ำได้ 150 ซีซีเพราะสามารถเรียงกันได้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ การแยกเพศจะสังเกตเห็นว่าปลาเพศผู้จะมีลำตัวสีเข้ม ครีบยาว ลายบนลำตัวมองเห็นชัดเจนและขนาดมักจะโตกว่าเพศเมีย ส่วนปลาเพศเมียจะมีสีซีดจาง มีลาดพาดตามยาวลำตัว 2-3 แถบ และมักจะมีขนาดเล็กกว่าปลาเพศผู้
น้ำที่ใช้เลี้ยง ปลากัดต้องเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรด-ด่าง (pH) ประมาณ 6.5-7.5 มีความกระด้าง 75-100 มิลลิกรัมต่อลิตร และมีความเป็นด่าง 150-200 มิลลิกรัมต่อลิตร ควรบรรจุน้ำลงในขวดเพียง 1/2 ขวด เพื่อเว้นช่องว่างให้อากาศได้สัมผัสกับผิวน้ำ
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลา ปลากัดเป็นปลาที่ชอบกินสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร อาหารที่เหมาะสมจะใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลากัด ได้แก่ ลูกน้ำ หนอนแดง ไรสีน้ำตาล (Artemia) ที่มีชีวิต การให้อาหารควรให้วันละ 1 ครั้ง ให้ปริมาณที่พอดีปลากินอิ่ม อาหารที่ใช้เลี้ยงทุกครั้งควรล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วแช่ในด่างทับทิมเข้มข้น 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5-1.0 กรัม/ลิตร) เป็นเวลา 10-20วินาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารหลังจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง การถ่ายเทน้ำควรกระทำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการผสมพันธุ์ปลากัด คือ ช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน โดยอุณหภูมิน้ำควรอยู่ระหว่าง 26-28 องศาเซลเซียส
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ปลาที่นำมาทำการเพาะพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่ 5-6 เดือนขึ้นไปโดยปลาจะให้ไข่ครั้งละประมาณ 500-1,000 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตเห็นความสมบูรณ์เพศของปลาได้ชัดเจน ในการคัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์ มีหลักที่ควรปฏิบัติดังนี้
ปลาเพศผู้ คัดปลาที่แข็งแรง ปราดเปรียว ลักษณะสีสดสวย ชอบสร้างรังซึ่งเรียกว่า “หวอด” โดยการพ่นฟองอากาศที่มีน้ำเมือกจากปากและลำคอผสมด้วย ซึ่งแสดงถึงว่าปลาเพศผู้มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์
ปลาเพศเมีย คัดเลือกปลาที่แข็งแรง สังเกตบริเวณท้องมีลักษณะอูมเป่งแบริเวณใท้องจะมีตุ่มสีขาวใกล้กับรูก้นเห็นได้ชัดเจน ซึ่งตุ่มสีขาวนี้เรียกกันว่า “ไข่น้ำ”

ส่วนต่างๆของปลากัด




วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พันธุ์ปลากัด --->ปลากัดทุ่ง (Wild Betta)

แต่เดิมจะเรียกกันว่าปลากัดลูกทุ่ง แต่ระยะหลังได้ตัดคำว่าลูกออก เหลือแต่ปลากัดทุ่ง ซึ่งบางแห่งก็เรียกปลากัดป่า เป็นปลากัดที่มีลำตัวค่อนข้างบอบบาง มีสีน้ำตาล ขุ่นหรือแถบเขียวมีปากค่อนข้างแหลม มีฟันซี่เล็กแหลมคม ปลาชนิดนี้บรรดา นักเลงปลากัดหรือมืออาชีพเล่นปลากัดซึ่งเป็นชาวชนบทเป็นส่วนใหญ่ นิยมเลี้ยงไว้เพื่อกัดแข่งขัน กัน เนื่องจากปลากัดทุ่งจะกัด ไม่ทนเหมือนปลากัดหม้อ และลูกผสมหรือเรียกกันว่าลูกสังกะสีก็ตามแต่ก็มีการเลี้ยงปลากัดป่าไว้น้อยเหมือน กันเพื่อเอาไว้กัดกับบปลากัดป่าด้วยกัน เมื่อตัวเก่งกัดชนะตัวอื่นๆก็เก็บเอาไว้เลี้ยงเพาะพันธุ์เอาลูกไว้กัดต่อไปแต่ถ้าตัวไหนกัดแพ้ก็ไม่เก็บเอา ไว้ทำพันธุ์ต่อไปอีกแล้ว หันไปหาปลาตัวใหม่มาเลี้ยงแทน ซึ่งสามารถหา ได้ไม่ยากเลย การจะหาปลากัดทุ่งตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่านั้นไม่ยากเย็นเท่าไรนัก ถ้าอยู่ในช่วงที่มีฝนตกในท้องนา ของชาวชนบท ซึ่งมีน้ำขังอยู่ตามบึง คลองหนอง บ่อทั่วไป และในช่วงฤดูฝนปลากัดจะก่อหวอดเกาะตามพันธุ์ไม้น้ำตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยจะลึกนัก ซึ่งมัก จะเป็นบริเวณริมบึงริมหนองหรือแอ่งน้ำที่มีน้ำตื้น ๆ ซึ่งจะมองเห็นหวอด ที่ปลากัดพ่นน้ำลายขึ้นมาเป็นฟอง รวมกันเป็นฟองใหญ่กว่าตัวปลากัดประมาณ 2 เท่าของ ความยาวของลำตัวปลาและลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำจนเห็นได้ชัดและความ เหนียวของ ฟองที่รวมกันจะอยู่ได้นานมาก แม้จะถูกน้ำฝนตกลงมามากแต่หวอดปลากัดจะ ไม่ละลาย ดังนั้น เมื่อเราเดินไปตามริมบ่อหรือริมหนองริมคลองบึง เมื่อเห็นหวอดปลากัดอยู่ตรง ไหนก็จงมองให้ดี ๆ จะเห็น ว่ามีตัวปลากัดว่ายวนเวียนอยู่ใต้หวอด ของมันเพื่อใช้เป็นสถานที่ดึงดูดให้ตัวเมียไปหาเพื่อจะผสมพันธุ์กัน จึงเป็นการง่ายมาก ที่จะจับปลาตัวนั้น โดยใช้สวิงหรือเครื่องมืออื่น ๆ ช้อนจับปลาขึ้นมาไว้เลี้ยง ต่อไปแต่ถ้าเป็นนักเลี้ยงมืออาชีพตามชนบทที่มีความ ชำนาญในการจับปลาก็จะใช้มือเปล่าจับปลาขึ้นมาได้อย่างง่าย ดาย แล้วใส่ภาชนะที่มีไว้นำกลับบ้าน หรือสถาน ที่เลี้ยงปลาต่อไป ด้วยภูมิปัญญาของคนโบราณได้แสดงออกถึงการคัดเลือกปลากัดทุ่งที่กัดเก่งไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อจะได้ ปลากัดรุ่นใหม่ที่กัดได้เก่งและชนะ ซึ่งตาม คำกล่าวขานเล่าต่อกันมาว่าตามตำนานนั้นระบุว่าปลากัดลูกทุ่งที่มีประวัติการกัดเก่งมากมีอยู่ 2 รูปลักษณะด้วยกัน คือ
1. ปลากัดทุ่งรูปปลาช่อน มีลักษณะของลำตัวปลาที่กลมยาว ครีบใหญ่ กระโดงใหญ่ ปลายหางรูปใบโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ ยอมรับกันว่าเป็นปลาที่ประวัติการกัดเป็น เลิศในบรรดาปลากัดทุ่งด้วยกัน
2. ปลากัดทุ่งรูปปลาช่อน มีลักษณะรูปร่างเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ปลายหางกลมปลากัดทุ่งชนิดนี้กัดได้ รุนแรงมาก และมีประวัติการกัดเก่งพอใช้ได้ เหมือนกันเนื่องจากปลากัดทุ่งกัดได้ไม่ค่อยจะทนนัก นักเล่นปลากัดจึงไม่ค่อยจะ นิยมเพาะพันธุ์ระหว่างปลากัดทุ่งด้วยกันนัก แต่จะเอาไปผสมกับปลากัดพันธุ์อื่น ๆ ได้ลูกผสมในชื่อที่เรียกกันว่า " ลูกสังกะสี " ซึ่งนักเล่นปลากัดเก่าแก่มักจะพูดกันว่าลูกปลาสังกะสีนั้นเป็นปลากัดที่กัดได้คล่องแคล่วและมีความอดทนเป็นที่สองรองจากปลา กัดหม้อหรือบางตัวอาจจะดีกว่าปลากัดหม้อด้วยซ้ำไป

ตามตำนานเก่าแก่ได้บันทึกไว้ว่าลูกสังกะสีบางครอก หรือบางตัวมีรูปร่างและสีสันคล้ายปลากัดทุ่งมากจนคนที่ตาไม่ ถึงอาจจะมองว่าเป็นปลากัดทุ่งได้ จึงมีนัก เลี้ยงนักเล่นปลากัดบางคนถูกหลอกให้เอาปลากัดทุ่งไปกัดกับลูกสังกะสี ก็ย่อมแน่นอน ว่าปลากัดทุ่งตัวจริงจะต้องแพ้พนันเพราะปลากัดลูกสังกะสีกัดได้เก่งกว่า ย่อม จะชนะแน่นอน ยกเว้นแต่ปลากัดทุ่งตัวนั้นจะเป็น ปลากัดที่กัดได้เก่งจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกัดชนะลูกสังกะสีได้เหมือนกัน แต่ปลากัดทุ่งที่กัดชนะลูกสังกะสีได้นั้นมีน้อย ตัวเหลือเกิน หรือแทบจะ ไม่มีเลยก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในไทยจะไม่ค่อยนิยมปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่งก็ตาม แต่ปลากัดป่ากลับไม่ได้รับความนิยมอย่าง ดีมากจาก คนเอเซียด้วยกันที่ไปอาศัยอยู่ใน ต่างประเทศจะแสวงหาปลากัดซึ่งมีลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน และมีการระบุแหล่ง ที่มาเพราะปลากัดป่ามีคุณลักษณะจำเพาะเช่น เดียวกับปลาอิมแบลิสจากเกาะสมุยไม่ เหมือนกับปลาอิมแบลิสในมาเลเซีย และยัง มีข่าวว่าชาวเยอรมนีต้องการพื้นที่ประมาณ 100-200ไร่ในประเทศเพื่อเพาะเลี้ยง ปลากัดป่าในประเทศไทยและในสิงคโปร์ด้วย ปลากัดป่ามามากในมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ และโดยเฉพาะใน อินโดนีเซีย มีปลากัดป่า หลายสายพันธุ์ ซึ่งมีความสามารถมาก และปลากัดไทยได้พัฒนามาจาก ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่งซึ่งมีสายพันธุ์ที่เรียกว่า เบตต้า สะเพล็นเดน อิมเบลิส(Betta splendens Imbelis) มีเหงือกเขียว ตะเกียบดิ่งแดง เกล็ดเข้มวาว และปลากัดทุ่ง ที่เพาะเลี้ยงกันในปัจจุบันได้มา จากจังหวัดเชียงราย เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ไม่ถูกสายพันธุ์ปลากัดอื่นผสมข้ามพันธุ์แต่อย่างใด

พันธุ์ปลากัด --->ปลากัดเขมร (Cambodain Betta)



รูปร่างลักษณะสีสันสวยงามเช่นเดียวกันกับปลากัดจีน แต่จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากปลากัดจีนตรงที่ปลายครีบ จะมีสีขาวเห็นได้ชัดซึ่งเมื่อปลากีดจีนไดัรับความนิยม มากขึ้นในต่างประเทศจึงทำให้ปลากัดเขมรซึ่งคล้ายๆกับปลากัดจีนจึง ได้รับความนิยมมากขึ้นในต่างประเทศดี ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากากรที่ปากัดจีนมี ตลาดต่างประ เทศดีขึ้น จึงจูงให้ปลากัดเขมร ซึ่งมีความสวยงามคล้ายปลากัดจีนพลอยฟ้าพลอยฝนได้ส่งออกไปด้วยทุกวันนี้การเพาะเลี้ยงปลากัดมิมุ่งกันแต่เพียงการ เพาะปลาเพื่อการพนันเหมือนแต่ก่อน แต่ได้มีการหันมาเพาะ เลี้ยงเอาไว้ดูเล่นสวยงามเพลิดเพลินตาด้วยและเพาะเลี้ยงไว้เพื่อเป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศกันมาก ขึ้นซึ่งคาดกันว่าปลากัด ไทยสามารถส่งขายต่างประ เทศนำรายได้ดีเข้าประเทศเป็นอันดับต้นๆของปลาสวยงามไทยทั้วหมดและปลากีดเขมร ซึ่งได้เพาะ เลี้ยงในประ เทศก็เป็นส่วนหนึ่งของปลาหีดจีนที่ส่งออก เพราะว่านอกจากจะ เป็นปลาที่สวยงาม ครีบยาวพริ้วสวยงามแล้ว ยัง มีคุณสมบัติพิเศษติดตัวอยู่ตลอดเวลาในเชิงการ ต่อสู้ได้สร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้เลี้ยงได้อย่างดีด้วยการซื้อขายปลากัดเขมรยัง ไม่ดีเท่ากันการซื้อขายปลากัดจีน เนื่องจากยังไม่เป็นที่รู้จักกันนักหรือยังไม่ได้รับความนิยมมากดท่ากับปลากัดจีน จึงทำให้ราคาปลากัดเขมรต่ำหว่าราคาปลากัดจีนมากพอสมควร แต่อย่างไรก็ดี การที่รูปร่างลักษณะ ปลากัดเขมรคล้ายกับปลากัดจีน จึงทำ ไห้หารย้อมแมวขายขึ้นในบางแห่งให้กับคนที่ตาไม่ถึง ไม่ทราบความแตกต่างระหว่าง ปลากัดจีนกับ ปลากัดเขมรไปในราคาเท่ากับปลากัดจีน เพราะฉะนั้นเพื่อป้องกัน มิให้ถูกแหกตาอีกก็ขอให้ดูปลากัดที่มีความสวย งามเหมือนกับปลากัดจีน แต่มีปลายครีบสีขาวชัดเจนก็แสดงว่า เป็นปลากัดเขมร ราคาย่อมจะต้องต่ำกว่าราคาปลากัด จีน ซึ่งได้ รับความนิยมกันมากในต่างประเทศ

พันธุ์ปลากัด --->ปลากัดจีน

ปลากัดจีนเป็นปลากัดพื้นเมืองในไทยเรานี่เองเกดขึ้นได้ เนื่องจากการที่ผู้นำปลากัดที่มีรูปร่างสวยงามสีสันสดสวยมา เลี้ยงเพื่อความสวยงาม เลี้ยงเพื่อดูเล่นโดย คัดพันธุ์ที่มีครีบยาว สีสวยและปัจจุบันได้มีการพัฒนาให้หางปลากัดตัวผู้สามารถ แผ่ออกได้ถึง 180 องศา หรือครึ่งวงกลมและยังได้พัฒนาก้านหางจากสองแฉก ธรรมดา ให้มีจำนวน 5 แฉก หรือมากกว่านั้น เพื่อเป็นตัวช่วยแผ่ความกว้างของหางมากขึ้น และยังได้พัฒนาลักษณะของหางให้มีสองแฉกแยกจากกันเรียกว่าหางคู่ (Double tail) และยังมีอีกชนิด หนึ่งเป็นหางที่มีลักษณะบานออกเหมือนปากอ่าว (Delta tail)
ปัจจุบันเมืองไทยได้สามารถผลิตปลากัดที่มีสีสัน เช่นสีเขียว สีม่วง แดง น้ำเงิน ฯลฯ หรือผสมระหว่างสีดังกล่า ครีบต่างๆยกเว้นครีบอกยื่นยาวออกเป็นพวง โดย เฉพาะครีบที่หางให้มีความยาวพอๆกับความยาวของลำตัวและหัวรวมกัน แต่อย่างไรก็ดี ปลากัดที่ฝรั่งตะวันตกได้นำไปจากเมืองไทยได้มีการพัฒนาการในด้าน รูปร่าง และสีสันกันมานาน แล้วจนได้ปลากัดที่มีสีเพิ่มมากขึ้นและมีความสวยงามมากขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย ดัวเช่นในญี่ปุ่นได้ทำมานานเล้ว ในการบีบสี ของปลาให้ได้ ตามความต้องการด้วยการใช้เทคนิคการบีบสีของปลากัดแต่ก็ได้ใช้ระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งกว่าจะ ได้ปลาสีที่ต้องการกก็ต้องใช้เวลา 4-5 รุ่นขึ้นไป และยังมีการใช้เทคนิคการฉีดยีนส์สีของปลาที่ต้องการเข้าไปในปลากัดตัวเมีย ซึ่งเทคนิคนี้ต้องใช้ความชำนาญและใช้เทคนิคทางวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งในต่าง ประเทศเช่นญี่ปุ่นทำได้แล้ว แต่เมืองไทย ของเรายังไม่มีการใช้วิธีนี้เพราะต้องลงทุนสูงแต่ผลผลิตที่ได้มีความแน่นอนและรวดเร็ว ซึ่งคาดกันว่าในอนาคตอันใกล้เมืองไทยคงมีการนำเทคนิคดังกล่าว เข้ามาใช้หรือไม่ก็จะต้องใช้เทคนิคในการปรับปรุงสายพันธุ์ปลากัดด้วยวิธีอื่นๆมาใช้
สีของปลากัดจีนในปัจจุบันได้แยกไว้เป็น 3ประเภทคือ
1. สีเดียว(Solid color)
2. สองสี (Bi-color)
3. หลากสี (Multi-Color)

สีเดียว หมายถึงปลากัดที่มีครีบและลำตัวเป็นสีเดียวกันทั้งหมด โดยไม่มีสีอื่นปะปนอยู่เลยยกเว้นปลากัดสีเกียว เขม่าดำจากปากจรดครีบหู เส้นของครีบและขอบ เกล็ด ของปลาจะเป็นสีใดก็ได้ ส่วนตะเกียบท้องอนุโลมให้มีสีอื่นได้ แต่ปลา กัดสีเผือกทั้งตัวครีบท้องจะมีสีอื้นไม่ได้ ครีบหู อนุโลมให้เป็นครีบเงากระจกได้

สองสี หมายถึงปลาที่มีตัวและครีบสีต่างกันโดยลำตัวและครีบมีสีเดียวที่แตกต่างกัน รวมถึงปลาที่มีลำตัวเผือกและสี เดียวด้วย ยกเว้นเขม่าจากปากจรดโคน ครีบหูและ เส้นของครีบของปลาจะเป็นสีใดก็ได้ตะเกียบ(ครีบท้อง)อนุโลมให้มีสีอื่นๆได้ ครีบหูอนุโลมให้เป้นครีบกระจกได้

หลากสี หมายถึงปลาที่มีสีขึ้นไปในส่วนของลำตัวและหรือมีสองสีขึ้นไปในส่วนของครีบที่เป็นกระจกถือเป็นส่วนหนึ่งสี ยกเว้นเขม่าดำจากปากจรดโคน ครีบ หูและเส้น ครีบปลาจะเป็นสีใดก็ได้ตะเกียบ อนุโลมให้มีสีอื่นได้ ครีบของหูอนุโลมให้เป็น ครีบกระจกทั้งสองครีบได้แต่อย่างไรก็ดี
บางตำราแบ่งสีออกเป็นถึง 6 รูปแบบคือ
1. สีเดียว (Solid Colored Betta) เป็นสีเดียวทั้งครีบและตัว
2. สีผสม (Bi-Colored Betta) ส่วนใหญ่จะมีสองสีผสมกัน
3. สีผสมเขมร (Cambodia Colored Betta)
4. ลายผีเสื้อ (Buterfly Colored Betta)
5. ลายผีเสื้อเขมร (Cambodain Butterfly Colored Betta)
6. ลายหินอ่อน (Meable Colored Betta)
ปัจจุบันการเพาะพันปลากัดจีนมุ่งเป้าหมายเน้นเพื่อการส่งออกเป็นหลัก เพราะชาวต่างประเทศชื่นชอบความสวยงาม ของหางที่แผ่กว้างได้สวยงาม ตามตำนาน กล่าว ว่าปลากัดจีนนั้นบรรพบุรุษ ของเราได้พัฒนาขึ้นมาเป็นเวลายาวนานกว่าร้อยปี มาแล้ว เพราะฝรั่งได้พูดถึงปลากัดหางยาวเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณร้อยปีก่อน แสดงว่าในประ เทศไทยเราได้พัฒนาปลากัดจีนมานานกว่านั้นปลาจีนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีรูปร่างสีสันทีสวยงามมากขึ้น มีครีบหลัง ครีบหาง ก้นค่อนข้าง ยาว และพร้อม กันก็มีการพัฒนาสายพันธุ์ด้วยการนำสายพันธุ์ผสมกันเอง และนำสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาผสมจนได้สาย ปลากัดที่สวยงามกังที่ เห็นกันอยู่ในทุกวันนี้
จากการศึกษาปลากัดพันธุ์ใหม่ที่ได้ของพบว่าทั้งปลากัดครีบยาวและครีบสั้นต่างก็อยู่ในประเภทเดียวกันเพราะมีลักษณะ โคโมโซมเดียวกัน นอกจากนั้นยังพบว่า ปลากัด ที่มีครีบยาวและครีบสั้นสามารถผสมพันธุ์กันไดั โดยที่เปอร์เซ็นต์การฟักเป็นตัว และอัตราการอยู่รอดของลูกผสมที่เกิดมากไม่มีความแตกต่างไปจากลูกปลาที่ เกิดจากการผสม พันธุ์ระหว่างปลากัดพวกเดียวกันแต่อย่างใด ระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา จากกระแสความต้องการเลี้ยงปลาสวยงามมีมากขึ้นตามลำดับทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะสภาพทางเศรษฐกิจหรือสภาพสังคมทำให้เกิด ความ เครียดและหาทางออกโดยกสฃารหันมาหาสิ่งที่สวยงามหรือสิ่งจรรโลงใจกันมากขึ้นเพื่อช่วยผ่อน คลายอารมณ์การทำงานหนัก ดังนั้นระยะเวลาที่ผ่าน มาสัตว์น้ำในกลุ่ม ปลาสวยงามหลายชนิดมีอนาคตดีขึ้นจนทำให้ผู้เลี้ยงสามารถหันมายึดเป็นอาชีพได้และทำรายได้ให้ผู้เลี้ยงได้ดีพอสมควร ซึ่งรวมถึงปลากดซึ่งไม่ เพียงแต่จะกัดเก่งเพียง อย่างเดียว แตต่ก็มี ความสวยงามชนิดหนึ่งที่ในขณะนี้สามารถจะกล่าวได้ว่าปลากัดมีความโดดเด่นเป็นพิเศษกว่าสัตว์น้ำตัวอื้นๆหลายตัวก็ได้ เพราะปลากัดได้รับความสนใจ ไปเกือบทุกระดับในประเทศ และยังมีตลาดใหญ่ทั่วโลกต้องการปลากัดคุณภาพดีอีกมากด้วย

พันธุ์ปลากัด --->ปลากัดลูกผสม

" ลูกสังกะสี " หรือ " ลูกตะกั่ว " เป็นชื่อปลาที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดทุ่งกับปลาหม้อผสมข้ามพันธุ์ ซึ่ง อาจจะใช้พ่อปลากัดทุ่งกับแม่ปลากัดหม้อ หรือ พ่อเป็นปลากัดหม้อกับแม่ปลากัดทุ่ง เมื่อได้ลูกผสมออกมานักเลี้ยงปลากัดก็จะ เรียกกันว่า ลูกสังกะสีหรือลูกตะกั่ว หรืออาจจะมีบางรายใช้พ่อปลากัดทุ่งหรือพ่อ ปลากัดหม้อ กับแม่ลูกผสมเมื่อได้ลูกก็จะเรียก ว่าลูกสังกะสีหรืออาจจะมีบางที่ใช้พ่อเป็นลูกผสมกับพ่อปลากัดทุ่งหรือพ่อปลากัดหม้อเมื่อได้ลูกออกมาก็เรียกว่าเป็นลูก ผสม เหมือนกัน เท่า กับว่าเมื่อใช้พ่อแม่ปลากัดต่างเหล่ากันมาผสมได้ลูกเมื่อไรก็จะเรียกว่า ลูกสังกะสี หรือ ลูกตะกั่ว ซึ่งก็จะได้ ปลากัดใหม่ลูกผสมที่ลำตัวมีหลายสี และเป็นปลากัดที่มีความทน ทรหดและกัดได้คมและว่องไวมากทีเดียว และเมื่อนำไปกัดกับ ปลากัดทุ่งหรือปลากัดป่าชัยชนะมักจะตกเป็นของลูกผสมเสียเป็นส่วน ใหญ่ว่ากันว่าปลากัดลูกผสมที่มีประวัติ การกัดเก่งกว่า ปลาอื่นในบรรดาพวกปลากัดลูกสังกะสีด้วยกันมักจะเป็นปลากัดลูกผสมรูปปลาช่อน ซึ่งสามารถสังเกตได้ตรง ที่มีครีบยาว กระ โดงยาว และหางใหญ่ซึ่งนับ ได้ว่าเป็นปลากัดที่เก่งและมีรูปร่างงดงามมากแต่อย่างไรก็ดี แม้ว่าปลากัดลูกผสมจะกัดได้เก่งและ รูปร่างสวยงามดีมากก็ จริงแต่นักเลงปลากัดก็นิยมเลี้ยงและเพาะพันธุ์กันน้อย กว่าปลากัดหม้อ ซึ่งตามตำนานกล่าวไว้ว่าอาจจะ เป็นเพราะปลากัดลูกผสมมีน้ำอดน้ำทนในการต่อสู้น้อยกว่าปลา กัดหม้อ และเป็นที่รู้กันในวงการปลากัดว่าถ้าเอาปลากัดลูก ผสมไปกัดกับปลากัดหม้อแล้วปลากัดลูกผสมมักจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้แต่อย่างไรก็ตามก็มีบางครั้งเหมือนกันที่ นักเลงปลากัดบาง คนที่มีปลากัดลูกผสมตัวเก่งไปกัดกับปลากัดหม้อ สามารถกำชัยชนะได้บ้าง ซึ่งนานๆจะเป็นชัยชนะของปลากัดลูกผสม และ การที่ปลากัดลูกสังกะสี สามารถเอาชนะปลากัดลูกหม้อได้ก็อาจะมาจากสาเหตุที่ปลากัดหม้อตัวนั้นมีอายุอ่อนวัยกว่าปลากัดลูกผสม หรือมีขนาดลำตัวเล็กกว่าหรือปลากัดหม้อเจ็บป่วย ไม่สมบูรณ์หรือมีสาเหตุอื่นๆอีกหลายประการ อันเป็นต้นเหตุให้ปลากัดหม้อ ต้องพ่ายแพ้ตาม สภาพคามไม้สมบูรณ์ของร่างกาย

พันธุ์ปลากัด --->ปลากัดหม้อ



ปลากัดหม้อ เป็นปลาที่ได้รับความนิยมเล่น นิยมเลี้ยงไว้กัดกันมาแต่โบราณกาล มีรูปร่าง และลำตัวที่ใหญ่กว่าปลากัดทุ่งและลูก ผสม มีปากใหญ่ ตัวใหญ่ สีเข้มเป็นปลากัดที่ได้รับ การยอมรับว่าเป็นปลาที่มีน้ำอดน้ำทนมากและยังกัดได้เก่งทนทรหดได้ดี กว่าปลากัดชนิดอื่น ๆ ดังนั้น ปลากัดหม้อจึงเป็นปลากัดที่มีผู้เลี้ยงกันมากกว่าปลากัดทุ่งและ ปลาลูกผสม เพราะ ความที่ปลากัดหม้อ เป็นปลากัดที่มีเลือดของนักสู้เกิน 100 และยังมีประวัติการเป็นนักสู้เป็นที่ประจักษ์แก่นักเล่นปลามาแต่สมัยโบราณมาจนทุกวัน นี้ ปลากัดหม้อที่มีอยู่ในมือ นักเล่นนักเลี้ยงปลากัดเวลานี้มีอยู่ 5สีด้วยกันคือ
1. สีน้ำเงิน
2. สีแดง
3. สีประดู
4. สีเขียวคราม
5. สีเทาหรือสีเหล็ก
รูปร่างลักษณะหม้อที่มีชื่อเสียงดีและมีประวัติการกัดเก่งที่ได้พิสูจน์กันมาแล้วว่าเป็นปลากัดที่ดีเลิศ ปากคม และกัด ทน มี 3 รูปลักษณะ คือ
1. ปลากัดหม้อรูปปลาช่อน สังเกตได้จากลักษณะปลาที่มีหน้าสั้น ลำตัวหนา ช่วงหัวยาว และโคนหางใหญ่ ซึ่งได้ แสดงถึงความเป็นปลาที่มีพละกำลังมาก กัดได้รุนแรง และมีประวัติการกัดชนะเป็นอันดับหนึ่ง

2. ปลากัดหม้อรูปปลากราย สังเกตได้จากลักษณะของปลาทีมีหน้าหงอนขึ้น ลำตัวสั้นและแบนเป็นปลาที่ว่ายหรือ เคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วและกัดได้ไวซึ่งนับ ได้ว่าเป็น ปลากัดที่มีประวัติศาสตร์การกัดไดัเสมอเหมือนกัน
3. ปลากัดหม้อรูปปลาหมอสังเกตได้จากลักษณะของตัวปลาที่มีรูปร่างคล้ายๆกับปลากราย แต่มีหน้ากลมและลำตัว สั้น เป็นปลาที่เล่าขานกันว่าเป็นปลาที่ทรหด อดทน และกัดได้ไว ถือได้ว่าเป็นปลาทีมีประวัติการกัดดีมากตัวหนึ่งนอกจากจะดูที่รูปร่างและสีสันของปลากัดที่ดีเลิศแล้ว และยังจะต้องดูลักษณะของปลาตรงตามตำราแล้วก็จะต้องมีสี ตรงตามตำราอีก และไม่มีเกล็ดสีแดงแซม เลยหรือ ถ้าเป็นปลาออกสีแดงเข้มออกดำก็จะต้องไม่มีเกล็ดเขียวแซมเช่นกัน ปลา ที่มีสีสันและรูปร่างตรงตามตำราเช่นนี้จัดว่าเป็นปลาที่มีลักษณะดีเยี่ยมปลากัดหม้อไม่ เหมือนปลากัด ลูกทุ่ง เพราะไม่อาจ จะไปช้อนเอาจากริม คลองหนองบึงหรือแอ่งตีนควายไม่ได้ เพราะปลากัดหม้อไม่ได้มาจากการเพาะพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ที่ดี มา หลายชั่วอายุคน ซึ่งได้ แสดงถึงภูมิปัญญาคนไทยโบราณจนได้ปลากัดที่มีรูปร่างแข็งแรงลำตัวหนา และยังว่ายน้ำได้ปราด เปรียวและมีสีสันสวยงาม ตลอดระยะเวลา ของการคัดพันธุ์ได้วางเป้าหมาย ไว้เพื่อที่จะให้ได้ปลาเพื่อการต่อสู้โดยเฉพาะ เพราะ ฉะนั้นการหาปลากัดหม้อมาเลี้ยงและผสมพันธุ์ขึ้นเองโดยจะต้องหาปลากัด ทั้งตัวผู้และตัวเมียที่มีความทรหดปากคมกัด เก่ง และยังต้องเลือกปลากัดหม้อพันธุ์แท้จริงๆ เพราะถ้าตัวหนึ่งเป็นปลากัดหม้อแต่อีกตัวหนึ่งเป็นพันธุ์อื่นๆ ลูกที่ได้มา จะเป็นปลากัดลูก ผสมไป จะเสียทั้งราคาและศักดิ์ศรี
ปัจจุบันได้แบ่งสีของปลากัดหม้อไว้ 3 ประเภท คือ
1. สีเดียว (Solid Colour)
2. สองสี (Bi-Colour)
3. หลากสี (Multi-Colour) แต่โบราณกาลนั้นปลากัดหม้อถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อกัดในชุมชน และต่อมาได้พัฒนาเป็นการเพาะพันธุ์ในเชิงพาณิชย์ โดยแบ่งปลา กัดหม้อออกเป็น 2 ประเภท คือปลาเก่งและปลาโหลปลาเก่ง คือปลาที่เพาะพันธุ์ขึ้นเพื่อการพนันโดยตรง จะต้อง เป็นปลาที่กัดได้ไวคม กัดถูกเป้าหมายสำคัญและทน ทานปลาโหล คือ ปลาที่เพาะเชิงปริมาณ ไม่เน้นความสามารถในการกัด แต่เพื่อเป็นงานอดิเรกเป็นหลักหรือเรียกว่าเลี้ยงเอาไว้ดูเล่นเพลิน ๆ ตาดีเท่านั้นปัจจุบันได้มีการ เพาะพันธุ์ปลาหม้อเพิ่มอีก รูปแบบหนึ่งออกมาก็คือเพาะเพื่อให้ได้สีที่ต้องการ เช่น สีเดียว หรือสีแปลก ๆ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก เป็นที่เข้าใจกันว่าปลากัดหม้อมีจำหน่ายภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ส่งออกได้ไม่มากนัก
เนื่องจากโลกนิยม ตะวันตกไม่นิยมการกัดปลา เพราะมองว่าเป็น การทรมานสัตว์แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีชาวเอเซียไปอยู่ในโลกตะวันตกกัน มากขึ้น จึงทำให้ปลากัดหม้อเริ่มเป็นที่นิยมของคนเอเซียในต่างประเทศ และขณะเดียว กันนั้นชาวตะวันตกทั้งในยุโรปและทวีป อเมริกาก็เริ่มให้ความสนใจกับปลากัดหม้อกันมากขึ้น น่าจะทำให้ไทยมีโอกาสจะส่งออกได้อีกมากก็ได้

Intro ปลากัด




ปลากัด Betta splendens Regan เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานาน เช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยง และเพาะพันธุ์ได้ง่าย ปีหนึ่ง ๆ ประเทศไทยได้ส่งปลากัดไปขายต่างประเทศคิดเป็นมูลค่าไม่น้อย กว่า 20 ล้านบาท

ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว ครีบและหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าปลาเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั้งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทยอาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯ
ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่ง ที่มีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบางสีน้ำตาลขุ่นหรือเทาแกมเขียว นำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่รูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้น สีสันสวยสด เช่น สีแดงเข้ม สีน้ำเงินเข้ม น้ำตาลเข้ม หรือสีผสมระหว่างสีดังกล่าว และเรียกปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์เพื่อการต่อสู้นี้ว่า ปลากัดหม้อ ปลากัดลูกหม้อ หรือปลากัดไทย ต่อมาได้มีผู้พยายามคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะ เช่นนี้ว่าปลากัดจีนหรือปลากัดเขมร ต่างประเทศรู้จักปลากัดในนาม Siamese fighting fish
ข้อมูลดังกล่าวได้ทำการคัดลอกมาจาก กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
จัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดย : สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์