วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โรคปลากัดและวิธีรักษา ภาค 2

โรคปลากัดและวิธีรักษา...@โรคปลา@...สำหรับโรคที่มักพบในปลาเลี้ยงทั่วๆ ไปก็ได้แก่
โรคจุดขาว
- จะเห็นเป็นจุดขาวๆบริเวณตัวปลาและติดต่อกันได้ด้วย
การรักษา
1.ใช้เมททีลีน บลู หยดลงในน้ำจำนวน 5 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ทำซ้ำเป็นเวลา 1-2 วัน
2.ใช้ยาแอนตีไบโอติค 50 มิลิกรัม / น้ำ 4.5 ลิตร
3.ใช้มาลาไคร์กรีน โดยใช้สารละลายยา 1-2 ซีซี. / น้ำ 1 ลิตร นำปลามาแช่ 3 วันจึงเปลี่ยนน้ำ

โรคสนิม
- โรคนี้จะมีละอองสีเหลืองคล้ายกำมะหยี่ เกาะตามผิวหนัง ลำตัวและเหงือกของปลา จนทั่วตัวต่างกับโรคจุดขาวคือ มีสีเหลืองเล็กและเข้มกว่า
การรักษา
1.ใช้เกลือแกงเข้มข้น 1% แช่ปลาไว้นาน 24 ช.ม. ควรทำซ้ำทุก 2 วัน
2.ใช้เมททีลีน บูล อัตตรา 10 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร ประมาณ 2 สัปดาห์
3.ใช้ยาเหลือง (Acriflavine) 4 มิลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร และทำซ้ำจากครั้งแรก 1 สัปดาห์
4.ยา Antibiotic ใช้เหมือนกับโรคจุดขาว

โรคเชื้อรา
- โรคนี้เกิดต่อเมื่อปลาได้รับบาดเจ็บหรืออ่อนแอ ปลาจะมีลักษณะผิวเป็นปุยสีขาว คล้ายสำลีตามลำตัว หรืออาจมีเส้นราเกิดขึ้นถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที ราจะกระจายและทำอันตรายเนื้อเยื่อของปลาและอาจถึงตายได้
การรักษา
1.ใช้ "มาลาไคท์ กรีน" เข้มข้น 60 ppm. หรือ 1:15,000 และนำปลาแช่ 30 นาที ถ้าไม่หายก็ทำซ้ำอีก
2.ใช้เกลือแกง ค่อยๆใส่ลงในน้ำ ปลาจะทนความเข้มข้นได้ 0.5 % โดยเติมสารละลายเกลือ 1 ช้อนชา / น้ำ 4.5 ลิตร ทุก 2-3 ช.ม. จนครบ 5 ช้อนพอดี จึงหยุดเพิ่มความเข้มข้นของเกลือแกง ในน้ำนี้ ใช้เวลา 1-2 วัน

โรคราที่ปาก
- โรคนี้เกิดจากแบคทีเรียบริเวณปากและกระจายไปอย่างรวดเร็วลักษณะเป็นเส้นสีขาวและดำรอบริมฝีปาก ทำให้ปลาไม่ยอมกินอาหาร เนื่องจากปลาเจ็บปาก และเป็นไข้
การรักษา
1.ใช้ยาเพนนิซิลิน 100,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ยา Antibiotic ทีใช้กับโรคจุดขาวก็ใช้ได้3.ใช้ยาเพนนิซิลิน ยานี้จะไม่เป็นอันตรายต่อปลาและสะดวกต่อการใช้ ถ้ายังไม่หายให้เพิ่มอัตตราการใช้เป็น 200,000 หน่วย / น้ำ 4.5 ลิตร ปลาจะหายภายในไม่กี่วัน

โรคครีบเปื่อยหางเปื่อย
- โรคนี้จะแสดงอาการได้ชัด คือเห็นว่าครีบและหางขาดและอาจลามถึงโคน ทำลายเนื้อเยื่อบริเวณโคนหาง
การรักษา
1.โดยให้ปลาได้รับ acration ร่วมกับการใช้ยาเพนนิซิลิน 15,000 หน่วย / น้ำ 1 แกลลอน

โรคท้องมาร
- โรคนี้เนื่องมาจากเชื้อไวรัส ปลาที่เป็นโรคท้องมารเกล็ดจะชี้ตั้งขึ้นส่วนท้องจะบวมเนื่องจากมีของเหลวภายในช่องท้อง
การรักษา
1.ใช้ Chloromycetin ใส่ในน้ำ 50-100 mg. / น้ำ 4.5 ลิตร
2.ใช้ Para-chlorophenoxethol เข้มข้น 1.20 มิลลิลิตร / น้ำ 4.5 ลิตร ค่อยๆใส่จนถึง 24 ช.ม.
3.โดยการเจาะลำตัวปลาบริเวณเหนือช่วงเปิด แต่การรัษาโดยวิธีนี้ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ อย่าให้ถูกอวัยวะ ภายในเป็นอันขาด

โรคตาโปน
- เกิดจากแบคทีเรีย หรือหลังจากการได้รับบาดแผลเป็นรอยถลอกบริเวณใกล้ๆ นัยน์ตา ตาจะปูดปวมขึ้นมาและโปนกว่า ปกติมาก
การรักษา
1.โดยการจับปลาไปแช่ไว้ในน้ำที่มีใบหูกวาง 2-3 วัน อาการตาปูดก็จะหายไปอนื่งยางของใบหูกวางที่ละลายอยู่ในน้ำจะช่วยรักษาแผลต่างๆ ได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

โรคเชื้อแบคทีเรีย
- โรคนี้มีอาการปรากฏคือ มีอาการท้องบวมและมีของเหลวในช่องท้องมาก แต่ไม่มีอาการเกล็ดตั้งขึ้น
การรักษา
1.แช่ไว้ในยาปฏิชีวนะ เช่น ออกซิเทตราไซคลินหรือคลอแรมฟินิคัล ที่มีความเข้มข้น 10-20 ส่วนในล้านส่วนและต้องเปลี่ยน น้ำยาแช่ใหม่ทุกวันและเติมยาให้มีความเข้มข้นเท่าเดิมทุกครั้ง โดยแช่ติดต่อกัน 3-5 วัน

โรคกระเพาะลม
- โรคนี้จะทำให้ปลาเสียการทรงตัว ปลาที่มีการทรงตัวไม่ดีอาจจะท้องหงายขึ้นลอยตามผิวน้ำ หรือจมอยู่ที่พื้นราบการรักษาสำหรับโรคนี้ไม่สามารถทำการรักษาได้ ตายสถานเดียวครับ...!

โรคสีลำตัวซีด
- โรคนี้เกิดจากมีสัตว์เซลล์เดียวมาเกาะ ทำให้ปลามีการขับเมือกออกจากตัวมากผิดปรกติ ปลาจะมีสีซีด
การรักษา
1.เช่นเดียวกับการรักษาโรคจุดขาว

โรคปรสิต (พยาธิใบไม้และหนอนสมอ)
- มักพบตามตัว เหงือก ครีบ มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ ส่วนหนอนสมอ จะเห็นเป็นเส้นด้ายสั้นเกาะอยู่ตามผิวตัว ทำให้ปลาแคระแกรนและอาจตายในที่สุด
การรักษา
1.ใช้ด่างทับทิมละลายในน้ำให้มีความเข้มข้น 2 ppm. / น้ำ 1 ลิตร
2.ใช้กรดน้ำส้มเข้มข้น 1 : 500 แช่ปลานาน 20 วืนาที และจะทำซ้ำหลังจากนั้น 3 วันก็ได้
3.ใช้ฟอร์มาลิน 20 หยด / น้ำ 4.5 ลิตร แช่ปลานาน 5-10 นาที

โรคปลาตัวสั่น
- โรคนี้มีสาเหตุไม่แน่นอนเนื่องจากน้ำที่เลี้ยงสกปรกเกินไปหรือเกิดจากในน้ำมีสารพิษ เช่น คลอรีนมากเกินไปก็ได้ ดังนั้นปลาจึงมีอาการตัวสั่น
การรักษา
1.ต้องรีบเปลี่ยนน้ำที่มีคุณสมบัติเหมาะแก่การเจริญเติบ(ผิดพลาดยังไงบอกด้วยนะคับ)


ข้อมูลที่ได้กล่าวไปนั้นได้ทำการคัดลอกมาจาก http://www.bettanetwork.com/new/archiver/?tid-199.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น