วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พันธุ์ปลากัด --->ปลากัดทุ่ง (Wild Betta)

แต่เดิมจะเรียกกันว่าปลากัดลูกทุ่ง แต่ระยะหลังได้ตัดคำว่าลูกออก เหลือแต่ปลากัดทุ่ง ซึ่งบางแห่งก็เรียกปลากัดป่า เป็นปลากัดที่มีลำตัวค่อนข้างบอบบาง มีสีน้ำตาล ขุ่นหรือแถบเขียวมีปากค่อนข้างแหลม มีฟันซี่เล็กแหลมคม ปลาชนิดนี้บรรดา นักเลงปลากัดหรือมืออาชีพเล่นปลากัดซึ่งเป็นชาวชนบทเป็นส่วนใหญ่ นิยมเลี้ยงไว้เพื่อกัดแข่งขัน กัน เนื่องจากปลากัดทุ่งจะกัด ไม่ทนเหมือนปลากัดหม้อ และลูกผสมหรือเรียกกันว่าลูกสังกะสีก็ตามแต่ก็มีการเลี้ยงปลากัดป่าไว้น้อยเหมือน กันเพื่อเอาไว้กัดกับบปลากัดป่าด้วยกัน เมื่อตัวเก่งกัดชนะตัวอื่นๆก็เก็บเอาไว้เลี้ยงเพาะพันธุ์เอาลูกไว้กัดต่อไปแต่ถ้าตัวไหนกัดแพ้ก็ไม่เก็บเอา ไว้ทำพันธุ์ต่อไปอีกแล้ว หันไปหาปลาตัวใหม่มาเลี้ยงแทน ซึ่งสามารถหา ได้ไม่ยากเลย การจะหาปลากัดทุ่งตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่านั้นไม่ยากเย็นเท่าไรนัก ถ้าอยู่ในช่วงที่มีฝนตกในท้องนา ของชาวชนบท ซึ่งมีน้ำขังอยู่ตามบึง คลองหนอง บ่อทั่วไป และในช่วงฤดูฝนปลากัดจะก่อหวอดเกาะตามพันธุ์ไม้น้ำตามแหล่งน้ำต่าง ๆ ที่ไม่ค่อยจะลึกนัก ซึ่งมัก จะเป็นบริเวณริมบึงริมหนองหรือแอ่งน้ำที่มีน้ำตื้น ๆ ซึ่งจะมองเห็นหวอด ที่ปลากัดพ่นน้ำลายขึ้นมาเป็นฟอง รวมกันเป็นฟองใหญ่กว่าตัวปลากัดประมาณ 2 เท่าของ ความยาวของลำตัวปลาและลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำจนเห็นได้ชัดและความ เหนียวของ ฟองที่รวมกันจะอยู่ได้นานมาก แม้จะถูกน้ำฝนตกลงมามากแต่หวอดปลากัดจะ ไม่ละลาย ดังนั้น เมื่อเราเดินไปตามริมบ่อหรือริมหนองริมคลองบึง เมื่อเห็นหวอดปลากัดอยู่ตรง ไหนก็จงมองให้ดี ๆ จะเห็น ว่ามีตัวปลากัดว่ายวนเวียนอยู่ใต้หวอด ของมันเพื่อใช้เป็นสถานที่ดึงดูดให้ตัวเมียไปหาเพื่อจะผสมพันธุ์กัน จึงเป็นการง่ายมาก ที่จะจับปลาตัวนั้น โดยใช้สวิงหรือเครื่องมืออื่น ๆ ช้อนจับปลาขึ้นมาไว้เลี้ยง ต่อไปแต่ถ้าเป็นนักเลี้ยงมืออาชีพตามชนบทที่มีความ ชำนาญในการจับปลาก็จะใช้มือเปล่าจับปลาขึ้นมาได้อย่างง่าย ดาย แล้วใส่ภาชนะที่มีไว้นำกลับบ้าน หรือสถาน ที่เลี้ยงปลาต่อไป ด้วยภูมิปัญญาของคนโบราณได้แสดงออกถึงการคัดเลือกปลากัดทุ่งที่กัดเก่งไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อจะได้ ปลากัดรุ่นใหม่ที่กัดได้เก่งและชนะ ซึ่งตาม คำกล่าวขานเล่าต่อกันมาว่าตามตำนานนั้นระบุว่าปลากัดลูกทุ่งที่มีประวัติการกัดเก่งมากมีอยู่ 2 รูปลักษณะด้วยกัน คือ
1. ปลากัดทุ่งรูปปลาช่อน มีลักษณะของลำตัวปลาที่กลมยาว ครีบใหญ่ กระโดงใหญ่ ปลายหางรูปใบโพธิ์ ซึ่งเป็นที่ ยอมรับกันว่าเป็นปลาที่ประวัติการกัดเป็น เลิศในบรรดาปลากัดทุ่งด้วยกัน
2. ปลากัดทุ่งรูปปลาช่อน มีลักษณะรูปร่างเหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันที่ปลายหางกลมปลากัดทุ่งชนิดนี้กัดได้ รุนแรงมาก และมีประวัติการกัดเก่งพอใช้ได้ เหมือนกันเนื่องจากปลากัดทุ่งกัดได้ไม่ค่อยจะทนนัก นักเล่นปลากัดจึงไม่ค่อยจะ นิยมเพาะพันธุ์ระหว่างปลากัดทุ่งด้วยกันนัก แต่จะเอาไปผสมกับปลากัดพันธุ์อื่น ๆ ได้ลูกผสมในชื่อที่เรียกกันว่า " ลูกสังกะสี " ซึ่งนักเล่นปลากัดเก่าแก่มักจะพูดกันว่าลูกปลาสังกะสีนั้นเป็นปลากัดที่กัดได้คล่องแคล่วและมีความอดทนเป็นที่สองรองจากปลา กัดหม้อหรือบางตัวอาจจะดีกว่าปลากัดหม้อด้วยซ้ำไป

ตามตำนานเก่าแก่ได้บันทึกไว้ว่าลูกสังกะสีบางครอก หรือบางตัวมีรูปร่างและสีสันคล้ายปลากัดทุ่งมากจนคนที่ตาไม่ ถึงอาจจะมองว่าเป็นปลากัดทุ่งได้ จึงมีนัก เลี้ยงนักเล่นปลากัดบางคนถูกหลอกให้เอาปลากัดทุ่งไปกัดกับลูกสังกะสี ก็ย่อมแน่นอน ว่าปลากัดทุ่งตัวจริงจะต้องแพ้พนันเพราะปลากัดลูกสังกะสีกัดได้เก่งกว่า ย่อม จะชนะแน่นอน ยกเว้นแต่ปลากัดทุ่งตัวนั้นจะเป็น ปลากัดที่กัดได้เก่งจริง ๆ เท่านั้น จึงจะกัดชนะลูกสังกะสีได้เหมือนกัน แต่ปลากัดทุ่งที่กัดชนะลูกสังกะสีได้นั้นมีน้อย ตัวเหลือเกิน หรือแทบจะ ไม่มีเลยก็ว่าได้ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ในไทยจะไม่ค่อยนิยมปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่งก็ตาม แต่ปลากัดป่ากลับไม่ได้รับความนิยมอย่าง ดีมากจาก คนเอเซียด้วยกันที่ไปอาศัยอยู่ใน ต่างประเทศจะแสวงหาปลากัดซึ่งมีลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน และมีการระบุแหล่ง ที่มาเพราะปลากัดป่ามีคุณลักษณะจำเพาะเช่น เดียวกับปลาอิมแบลิสจากเกาะสมุยไม่ เหมือนกับปลาอิมแบลิสในมาเลเซีย และยัง มีข่าวว่าชาวเยอรมนีต้องการพื้นที่ประมาณ 100-200ไร่ในประเทศเพื่อเพาะเลี้ยง ปลากัดป่าในประเทศไทยและในสิงคโปร์ด้วย ปลากัดป่ามามากในมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ และโดยเฉพาะใน อินโดนีเซีย มีปลากัดป่า หลายสายพันธุ์ ซึ่งมีความสามารถมาก และปลากัดไทยได้พัฒนามาจาก ปลากัดป่าหรือปลากัดทุ่งซึ่งมีสายพันธุ์ที่เรียกว่า เบตต้า สะเพล็นเดน อิมเบลิส(Betta splendens Imbelis) มีเหงือกเขียว ตะเกียบดิ่งแดง เกล็ดเข้มวาว และปลากัดทุ่ง ที่เพาะเลี้ยงกันในปัจจุบันได้มา จากจังหวัดเชียงราย เป็นพันธุ์บริสุทธิ์ ไม่ถูกสายพันธุ์ปลากัดอื่นผสมข้ามพันธุ์แต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น